Page 72 -
P. 72
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3.2 การตลาด
3.2.1 ลักษณะการตลาด
เป็นแบบ เน้นตัวสินค้า/ผลิตภัณฑ์ (product-driven) และ เน้นการขาย (sales-driven) ผสม
กัน โรงงานอุตสาหกรรมเน้นให้ความสําคัญกับ ตัวสินค้า แข่งขันด้านการผลิตตัวสินค้า ให้ดี แตกต่างจากของ
ผู้ผลิตอื่น พยายามทําให้ตัวสินค้าแตกต่างจากของผู้ผลิตอื่น (differentiation) เมื่อมีสินค้าผลิตออกมาใหม่
การตลาดจะเน้นแบบเน้นตัวสินค้า/ผลิตภัณฑ์ แต่เมื่อขายไปได้สักระยะหนึ่ง เมื่อตลาดเริ่มอิ่มตัว หรือเมื่อ
ผู้ประกอบการรายอื่นเริ่มมีการผลิตสินค้าออกมาขายแข่งขันมากขึ้น ก็จะเปลี่ยนกลยุทธ์จากเน้นตัวสินค้า/
ผลิตภัณฑ์ มาเป็นเน้นการขาย ให้ความสําคัญในเรื่องราคาและการส่งเสริมการขายมากขึ้น
ไม่มีหลักฐานที่เป็นเอกสารชัดเจนว่า มีการทําการวิเคราะห์ SWOT ในการจัดทําแผนการตลาด
หรือไม่ แต่จากการสัมภาษณ์ พอจะประมาณได้ว่า มีการคิด ทั้งนี้เนื่องจาก มีการกล่าวถึง สภาพเศรษฐกิจ
โดยรวม สภาพการตลาด ลูกค้า และ ผู้ประกอบการรายอื่น
3.2.2 ตลาดเป้าหมาย (Target markets)
ในส่วนของตลาดเป้าหมาย ผู้ผลิต ยังคงให้ความสําคัญกับตลาดในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ตลาดในภาคกลาง ส่วนตลาดต่างประเทศนั้นน่าจะอยู่ในระยะเวลาของการทําตลาด หรือสร้างตลาด หรือการ
ทําให้สินค้าเป็นที่ยอมรับของลูกค้า
ตลาดในประเทศ
ขนาดของตลาดในประเทศ มีคําถามที่สําคัญคือ ในขณะปัจจุบัน ปริมาณการเสนอขายนั้น เกิน
ความต้องการของตลาด (oversupply) หรือยัง
การกะประมาณ อย่างหยาบเป็นดังนี้
สมมติให้รถเกี่ยวนวด 1 คัน สามารถเกี่ยวนวดได้ วันละ 40 ไร่ ทํางานเต็มที่ ปีละ
2 เดือน (หรือฤดูเก็บเกี่ยวของทั้งประเทศทั้งปี เท่ากับ 60 วัน)
ดังนั้นการทํางานของรถเกี่ยวนวด 1 คัน ในช่วงเวลา 1 ปี จะเกี่ยวนวดข้าวได้
= 40 ไร่ * 30 วัน * 2 เดือน
= 2,400 ไร่
กําหนดให้พื้นที่ปลูกข้าวในเดือน พฤศจิกายน ของทุกปีเท่ากับ 42 ล้านไร่
และจะต้องใช้เวลาในการเก็บเกี่ยวนวดให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน
ดังนั้นพื้นที่เกี่ยวนวด ต่อวัน จะเท่ากับ 42 ล้านไร่/ 60 วัน
หรือ = 42,000,000 /60
= 700,000 ไร่ / วัน
เมื่อกําหนดให้ รถเกี่ยวนวด เกี่ยวนวดได้ 40 ไร่ ต่อ วัน ต่อ คัน
ดังนั้นจะต้องการ รถเกี่ยวนวดจํานวน
31