Page 53 -
P. 53
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภาพที่ 2 เคียว และ แกระ ( http://brrd.in.th)
การใช้แรงงานเก็บเกี่ยวข้าว เริ่มได้รับผลกระทบจากการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและภาคการ
บริการ ในระยะเวลา 20 -30 ปีที่ผ่านมา แรงงานภาคการเกษตรอพยพสู่ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ
มากขึ้น ประกอบกับแนวโน้มของแรงงานภาคการเกษตรมีอายุสูงมากขึ้น การนําเครื่องจักรกลทางการเกษตร
มาใช้ทดแทนแรงงานจึงมีบทบาทมากขึ้น
ประเทศไทยเริ่มมีการศึกษาเครื่องจักรกลมาใช้เพื่อการเก็บเกี่ยวข้าว ราวในปี พ.ศ. 2497-2506
โดยกองเกษตรวิศวกรรมซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดกรมการข้าว ในขณะนั้น ได้มีการพยายามศึกษาสร้าง
เครื่องต้นแบบในการเก็บเกี่ยวข้าวขึ้นโดย ม.ร.ว เทพฤทธิ์ เทวกุล แต่ไม่ประสบความสําเร็จในแง่การยอมรับ
ของเกษตรกร เนื่องจากสถาณการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ยังไม่เอื้ออํานวยที่จะให้มีการใช้เครื่องจักรกลแบบนี้
จากนั้น มีการสั่งเครื่องเกี่ยวนวดข้าวจากประเทศตะวันตกเข้ามา แต่ไม่ได้รับความนิยมเพราะมีขนาดใหญ่
และน้ําหนักมาก อย่างไรก็ตามถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นของการนําเครื่องจักรกลเกษตร เข้ามาใช้ใน
กระบวนการเก็บเกี่ยว (สถาบันวิจัยข้าว, 2545) และได้มีการศึกษาพัฒนา เครื่องต้นแบบหรือการนําเข้า
เครื่องต้นแบบ มาศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องหลากหลายจนถึงปัจจุบัน
ในปี 2521 กองเกษตรวิศวกรรมได้ศึกษาทดสอบและพัฒนาเครื่องเกี่ยวข้าววางรายจากต้นแบบ
ของประเทศญี่ปุ่นและนําไปสู่การส่งเสริมให้เกษตรกรได้ใช้งาน เครื่องเก็บเกี่ยววางรายเป็นเครื่องจักรกลที่ใช้
เกี่ยวหรือตัดต้นข้าวแล้ววางทิ้งไว้ในแปลงนาเป็นแถวยาวตามแนวการทํางานของเครื่อง แถวต้นข้าวที่ถูกตัด
วางเรียงเป็นแถวนี้ จะถูกรวบรวมมัดเป็นฟ่อนนําไปสู่การเก็บรักษาหรือนวดต่อไป ปัจจุบันยังมีการใช้งาน
เฉพาะพื้นที่ของ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ (สถาบันวิจัยข้าว, 2545)
ภาพที่ 3 เครื่องเกี่ยวข้าววางราย (www.starch06.blogspot.com)
12