Page 35 -
P. 35
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
34
1.4.2 สถานการณ์ถั่วลิสงในประเทศไทย
นอกจากผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ที่ไทยผลิตได้ค่อนข้างน้อยแล้ว ในด้านปริมาณ
ผลผลิตถั่วลิสงที่ผลิตได้ พบว่า ใน 11 ปี ที่ผ่านมา การผลิตถั่วลิสงของไทยไม่พอ
ต่อความต้องการ ในช่วงปี 2546 ถึงปี 2556 การน�าเข้าถั่วลิสงมีอัตราการขยาย
ตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.32 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามอัตราการเติบโต
ของพื้นที่ผลิตถั่วลิสงลดลงร้อยละ 1.41 ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการที่เกษตรกรหันไป
ปลูกมีพืชอื่นที่ได้ราคาดีกว่า ในขณะที่ราคาผลผลิตถั่วลิสงไม่จูงใจ และต้นทุนการ
ผลิตสูง นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ส�าเร็จรูปเพิ่มขึ้น ท�าให้
ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ปัจจุบันไทยพึ่งพาการน�าเข้าถั่วลิสง
จากประเทศนอกกลุ่มอาเซียน เช่น จีน และอินเดีย เป็นต้น หากประเทศเหล่านี้
ประสบปัญหาไม่สามารถส่งผลผลิตถั่วลิสงให้ไทยได้ในอนาคต อาจก่อให้เกิดความ
ขาดแคลนต่อภาคอุตสาหกรรมของไทย การส่งเสริมให้ประเทศเพื่อนบ้านที่มี
ชายแดนติดกับไทยเพื่อให้เป็นฐานการผลิตถั่วลิสงให้จะช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้ ข้อ
ได้เปรียบของ เมียนมาร์ สปป.ลาว และกัมพูชา คือ มีดินที่อุดมสมบูรณ์ มีค่าแรง
ถูก มีวัฒนธรรมประเพณีคล้ายคลึงกัน มีความเป็นญาติพี่น้องกันตามแนวชายแดน
ในด้านต้นทุนการผลิต พบว่า ผลจากการปรับค่าแรงขั้นต�่า ท�าให้ค่าแรงของ
ไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของไทยสูง ในขณะที่
ภาคอุตสาหกรรมซื้อถั่วลิสงในราคาใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้าน ท�าให้เกษตรกร
ผู้ปลูกถั่วลิสงขายได้ราคาต�่า ไม่คุ้มทุน เกษตรกรบางรายจึงหันไปปลูกพืชอื่นที่ราคา
ดีกว่าแทน อนึ่ง วิธีการปลูกของเกษตรกร พบว่า มีการใช้สารเคมี เช่น
สารป้องกันก�าจัดวัชพืช และศัตรูพืชสูงกว่าที่มีการแนะน�ากัน ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลผลิต
สูงเท่าที่ท�าได้ ส่งผลให้มีสารเคมีตกค้างในผลผลิตสูง และท�าให้ต้นทุนการผลิตสูง
ตามมา ดังนั้น จึงควรมีการพัฒนากระบวนการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวด้วย
เครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกร และให้การ
เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง จริงจัง ในด้านการผลิต
ถั่วลิสงอย่างปลอดภัยและมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม นับเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สมควร
กระท�า