Page 50 -
P. 50
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
แนวทางที่ 6.2 สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการด าเนินงานด้านความ
ร่วมมือกับต่างประเทศในเรื่องอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การอนุรักษ์ความ
หลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น
2.2.4 แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2552-2556)
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2552
สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2533 ที่เห็นชอบแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์
ธรรมชาติเพื่อวางแผนการอนุรักษ์ธรรมชาติทั้งระยะสั้นและระยะยาว ให้มีประสิทธิภาพ มีวิธีการ รูปแบบการ
อนุรักษ์ และมาตรการในการอนุรักษ์ธรรมชาติแต่ละประเภท ยังไม่ประสบผลส าเร็จเท่าที่ควร มีผลท าให้พื้นที่
แหล่งธรรมชาติหลายแห่งถูกท าลายและสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมจนไม่อาจฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิมและ
เนื่องจากมีการปฏิรูประบบบริหารราชการตามพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอ านาจหน้าที่ของส่วน
ราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม โดยส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้ปรับปรุงแผนแม่บท
เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2552 – 2556) เพื่อเป็นฐานข้อมูลของแหล่ง
ธรรมชาติ เป็นข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในส่วนที่บกพร่องให้เหมาะสมต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน และเป็นกรอบแนว
ทางการด าเนินงานส าหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติได้น าไปใช้ในการอนุรักษ์และพัฒนา
พื้นที่ ซึ่งคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม
แห่งชาติมีมติเห็นชอบแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2552 – 2556) เมื่อวันที่
7 กันยายน 2549 และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีติเห็นชอบแผนแม่บทฯดังกล่าว เมื่อวันที่ 4
พฤษภาคม 2552 ต่อมา เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2552 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมธรรมชาติระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2552 – 2556) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
เสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ตามแผนแม่บทด าเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาระส าคัญ ดังนี้
1) วัตถุประสงค์
(1) ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ที่เสื่อมโทรมและมีแนวโน้มจะน าไปสู่ปัญหา
วิกฤติให้กลับฟื้นฟูความสมบูรณ์เพื่อเป็นฐานทรัพยากรในการพัฒนาประเทศ
(2) พัฒนาการน าสิ่งแวดล้อมธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ซึ่งเป็นทุนทางสังคมไปใช้อย่างชาญ
ฉลาดเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างยั่งยืน โดยสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประเทศ
(3) เกิดการบริหารจัดการแบบบูรณาการเชิงรุก มีแผนแม่บทครอบคลุมสิ่งแวดล้อม
ธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวนโยบายทั้งระบบ
(4) เพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรของรัฐ และเพิ่มภูมิปัญญาของสังคมทุกระดับให้
สามารถบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ได้อย่างสัมฤทธิ์ผล
2-27