Page 15 -
P. 15
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
บทที่ 1
บทน ำ
1.1 หลักกำรและเหตุผล
ประเทศไทยมีแหล่งธรรมชาติที่ควรอนุรักษ์ของท้องถิ่นทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 4,700 แหล่ง โดยเฉพาะ
แหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา น ้าตก ถ ้า โป่งพุร้อน ชายหาด เกาะ แก่ง แหล่งน ้า ซากดึกด้าบรรพ์ และธรณี
สัณฐานและภูมิลักษณวรรณา ซึ่งหากได้รับผลกระทบหรือได้รับความเสียหายก็ไม่อาจฟื้นคืนสู่สภาพเดิมได้
หรือหากฟื้นคืนได้ก็ต้องใช้ระยะเวลายาวนาน
แหล่งธรรมชาติประเภทภูเขากระจายตัวอยู่ทุกภาคของประเทศไทย ทั งที่เป็นเขาแกรนิต เขาหินปูน
และเขาหินทราย นอกจากนั นแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขายังมีความส้าคัญต่อสภาพภูมิอากาศของท้องถิ่นนั นๆ
โดยเฉพาะภูเขาที่เป็นทิวเขายาวต่อเนื่อง ทิวเขาเหล่านั นมีผลต่อปรากฎการณ์เงาฝน (rain shadow) ในบริเวณ
ด้านหลังที่รับลมและเมฆฝนจากทะเล จะมีสภาพภูมิอากาศแห้งแล้ง ส่วนบริเวณรับลมจากทะเลก็จะมีปริมาณฝน
และความชุ่มชื นมากกว่า ภูเขายังเป็นแหล่งต้นน ้าล้าธารที่ส้าคัญ ในบริเวณยอดเขาสูงเกินกว่า 1,000 เมตร ยังพบ
สังคมพืชกึ่งอัลไพน์ซึ่งเป็นสังคมพืชที่พบเฉพาะบริเวณยอดเขาสูงเท่านั น เช่น ที่ยอดดอยเชียงดาว
และดอยอินทนนท์ เป็นต้น แหล่งธรรมชาติประเภทภูเขามักมีสภาพภูมิทัศน์ที่งดงาม แปลกตา แตกต่างกันไป
เช่น เขาหินปูน เป็นลักษณะสภาพภูมิประเทศแบบ karst เขาหินทรายมักมียอดเขาเป็นรูปตัด ท้าให้เกิดที่ราบบน
ยอดเขา ส่วนหินแกรนิตมักเป็นเทือกเขาสูงชัน เป็นต้น อากาศบนเขามักเย็นสบาย ดังนั น จึงเป็นแหล่งที่มีผู้นิยม
ไปท่องเที่ยว ส่งผลให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยว แต่หากมีการจัดการที่ไม่เหมาะสม และไม่ดูแลรักษาก็อาจ
ส่งผลกระทบตามมา เช่น กระทบต่อแหล่งต้นน ้าล้าธาร และระบบนิเวศที่อ่อนไหวเปราะบาง เป็นต้น
นอกจากนั นการระเบิดหิน การขุดแร่ การท้าเหมืองต่างๆ บ่อลูกรัง ยังมีผลต่อแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา
โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิทัศน์และลักษณะกายภาพของภูเขา
นอกจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโดยกิจกรรมของมนุษย์แล้ว ปัจจุบันระบบนิเวศภูเขายังได้รับ
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แม้ว่าประเทศไทยจะมีภูเขาที่ไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับ
เทือกเขาหิมาลายาหรือเทือกเขาแอลป์ เทือกเขาร๊อกกี ในประเทศอื่นๆ แต่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ปริมาณน ้าในล้าธาร ระบบนิเวศ และชนิดพันธุ์พืชบนเขาเปลี่ยนแปลงใน
ทิศทางเป็นระบบนิเวศที่แล้งขึ น ความรุนแรงของไฟป่า เป็นต้น การติดตาม เฝ้าระวังตลอดจนเตรียมรับมือและ
ป้องกันผลกระทบจึงเป็นสิ่งจ้าเป็นส้าหรับแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขาที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบทั งจากการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั น เพื่อเป็นการคงคุณค่าความส้าคัญระบบนิเวศของสิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติ
ประเภทภูเขาเอาไว้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ส้านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จึงมีโครงการจัดท้ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขาขึ น เพื่อก้าหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ
สิ่งแวดล้อม ส้าหรับใช้ติดตามผลกระทบทั งจากกิจกรรมของมนุษย์และจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เพื่อเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบ อีกทั งให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้และด้าเนินการร่วมกันในการดูแลรักษา ฟื้นฟู
1-1