Page 5 -
P. 5
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ครบรอบ 72 ปี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สาร
คณบดีคณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในวาระแห่งการเฉลิมฉลองการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครบรอบ 72 ปี ใน พ.ศ. 2558
เป็นวันเวลาที่ส�าคัญและน่าชื่นชมยินดีร่วมกันของทุกคน ที่สถาบันการศึกษาหลักด้านการเกษตรของประเทศไทย
ได้ท�าหน้าที่ต่างๆ ตามพันธกิจที่ก�าหนดไว้ได้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะหน้าที่ในการศึกษาวิจัยทางการเกษตร
ซึ่งเป็นพันธกิจหลักที่ส�าคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงและความอยู่ดีกินดีของคนในชาติ
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหน้าที่หลักในการจัดการศึกษาด้านการเกษตร คู่ขนานไปกับ
การเรียนการสอน คณะเกษตรได้ผลิตงานวิจัยในทุกปีการศึกษาตลอดระยะเวลา 72 ปี เพื่อน�าผลงานวิจัยบริการ
วิชาการสู่สังคม ร่วมพัฒนาภาคเกษตรกรรม และอยู่เคียงบ่าเคียงไหล่กับพี่น้องเกษตรกรไทยในทุกสถานการณ์
ของสังคม คณะเกษตรมีความเชื่อมั่นตลอดเวลาว่า ประเทศไทยของเราจะด�ารงอยู่ได้อย่างยั่งยืนและมั่นคงด้วย
การมีภาคเกษตรกรรมที่เข้มแข็ง เนื่องจากฐานทรัพยากร ดิน น�้า และป่าไม้ ของชาติที่มีอยู่ ล้วนแต่เอื้อต่อ
การผลิตด้านการเกษตร นอกจากนี้ ประเทศชาติยังมีความพร้อมด้วยพี่น้องเกษตรกรที่มีความรู้ความสามารถ
จากประสบการณ์ของแต่ละท้องถิ่น รวมถึงนักวิจัยทางการเกษตร ซึ่งเป็นผู้ช่วยเผยแพร่ความคิดและความรู้ใหม่ๆ
ที่เป็นพลังส�าคัญในการผลักดันการพัฒนาการเกษตรของชาติด้วยทั้งสิ้น
ในโอกาสพิเศษนี้ คณะเกษตรขอน�าองค์ความรู้และประสบการณ์อันมีค่าของคณาจารย์และนักวิจัยมา
ขยายผลในวงกว้างขึ้น จึงจัดท�าหนังสือ “ครบรอบ 72 ปี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” โดยรวบรวม
ผลงานนวัตกรรมของคณาจารย์และนักวิจัยของคณะเกษตร ที่สร้างคุณประโยชน์แก่วงการเกษตรของประเทศไทย
ซึ่งแบ่งเนื้อหาเป็น 5 หมวด ได้แก่ หมวดพืช หมวดสัตว์ หมวดดินและปุ๋ย หมวดเครื่องจักรกลทางการเกษตร และ
หมวดการจัดการศัตรูพืชและสัตว์ จ�านวน 30 ผลงาน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตรสู่สังคมของ
คณะเกษตรอีกจ�านวน 10 ผลงาน
คณะเกษตรตั้งความหวังไว้เป็นอย่างยิ่งว่า การน�าองค์ความรู้และประสบการณ์อันมีค่าของคณาจารย์
นักวิจัยของคณะเกษตรมาขยายผลในวงกว้างขึ้น จะเป็นคุณประโยชน์ต่อวงการวิชาการ วงการเกษตรกรรม และ
สังคมไทย ที่จะได้ร่วมเรียนรู้จากผลงานนวัตกรรมการเกษตร ตลอดจนพี่น้องเกษตรกรไทยจะได้รับประโยชน์
มากขึ้น นับเป็นสิ่งที่ดีในการส่งเสริมองค์ความรู้เพื่อใช้แก้ไขปัญหาการเกษตร ก่อให้เกิดการพัฒนาการเกษตร
และร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร “ให้เกิดความอยู่ดีมีสุข” ตามที่ทุกฝ่ายในประเทศปรารถนาจะได้เห็น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุตเขตต์ นาคะเสถียร
คณบดีคณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ตุลาคม 2558