Page 4 -
P. 4
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แสดงในรูปของแบบจ าลองคณิตศาสตร์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสามารถใช้ออกแบบใบมีดจอบหมุนได้ โดยใช้
ผลที่ได้จากงานวิจัยของผู้เขียนและคณะเอง และตัวอย่างการออกแบบพัฒนาเครื่องมือพรวนจานชนิดใช้
ก าลังขับจากเพลาอ านวยก าลัง โดยเน้นไปที่การวิจัยและพัฒนาท าทั้งในห้องปฏิบัติการตลอดจนน าไป
ทดสอบสมรรถนะในแปลงทดลอง จุดมุ่งหมายเพื่อแสดงให้เห็นตัวอย่างการท างานวิจัยด้านเครื่องจักรกล
เกษตรที่นิยมท าในประเทศไทย โดยไม่มีการพัฒนาทฤษฎีการออกแบบ นอกจากนี้ก็ต้องการแสดงให้เห็น
การทดสอบสมรรถนะเครื่องจักรกลเกษตรประเภทไถเตรียมดินในแปลงเกษตรกรรม ส่วนเครื่องมือไถดิน
ดานชนิดสั่นเป็นการแสดงให้เห็นการวิจัยและพัฒนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บทที่ 7 เป็นส่วนของกระบะ
ดิน จะได้ทราบว่าการใช้กระบะดินมีส่วนในการช่วยพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรอย่างไร นอกจากนี้ก็มี
ข้อมูลการใช้กระบะดินในประเทศไทย และบทที่ 8 เขียนเกี่ยวกับเครื่องจักรกลฉุดลาก เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ
การฉุดลาก การเสียรูปดิน การจมดิน และความต้านทานการเคลื่อนที่ของล้อ
ในการเรียบเรียงต าราเล่มนี้ ผู้เขียนได้พยายามศึกษาค้นคว้าจากหนังสือเกี่ยวกับเรื่องดินในด้าน
วิศวกรรมเกษตรและเครื่องจักรกลเกษตรหลายเล่ม และบทความวิจัยจากวารสารต่างๆ เอกสารหลังการ
ประชุมสัมมนาวิชาการที่ต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในการแปลศัพท์ทางวิชาการนั้น ผู้เขียนได้
พยายามอ้างอิงศัพท์ปทานุกรมปฐพีวิทยา ศัพท์ยานยนต์ฉบับราชบัณฑิตสถาน ศัพท์วิทยาการวิศวกรรม
โยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่
มีศัพท์อีกจ านวนมากที่ผู้เขียนได้บัญญัติศัพท์เองเป็นการชั่วคราวไว้ก่อน โดยวงเล็บศัพท์ภาษาอังกฤษไว้
ด้วยเพื่อให้เข้าใจตรงกัน
ผู้เขียนใคร่ขอขอบคุณต่อ รองศาสตราจารย์ ดร.บัญชา ขวัญยืน ท่านคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์
ก าแพงแสน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภรต กุญชร ณ อยุธยา หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตก าแพงแสน ที่ให้การสนับสนุนในการเขียนต าราเล่มนี้ ทั้งนี้เพราะว่า
ผู้เขียนได้เกษียณอายุราชการไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 โดยให้โอกาสผู้เขียนมานั่งค้นคว้าเขียนต ารา
เล่มนี้ที่ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร ผู้เขียนหวังว่าต าราเล่มนี้คงจะมีประโยชน์ต่อนิสิตนักศึกษาในสาขา
วิศวกรรมเกษตรและผู้สนใจทุกท่าน นอกจากนี้ผู้เขียนขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง อุษา
บริสุทธิ์ ที่ได้กรุณาน าฉบับร่างของต าราเล่มนี้ไปใช้สอนนิสิตปริญญาโทของภาควิชาวิศวกรรมเกษตรปี
การศึกษา 2557 ภาคต้น และได้ให้ค าแนะน าต่อผู้เขียนซึ่งมีประโยชน์มาก ถ้าจะกรุณาก็เขียนค าแนะน าเพื่อ
จะปรับปรุงแก้ไขต ารานี้ให้ดีขึ้นและส่งมาที่ ดร.ธัญญา นิยมาภา 848/7 ซอยกรรณิการ์ ถนนพระราม 3 ต.
บางโคล่ อ.บางคอแหลม กทม. 10120 ผมยินดีรับฟังข้อเสนอแนะ นอกจากนี้ผู้เขียนใคร่ขอขอบคุณ คุณ