Page 20 -
P. 20
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สาขาวิชาต่างๆ และนำาผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการเรียน การสอน
และพัฒนาด้านการเกษตรของประเทศไทย ส่งผลให้การวิจัยด้านการเกษตร
ของมหาวิทยาลัยมีการพัฒนาและขยายตัวขึ้นตามลำาดับ ซึ่งทางคณะอาจารย์
และบุคลากรในสายวิชาการต่างทำางานอย่างเสียสละ ด้วยความเหน็ดเหนื่อย
เพื่อสร้างชื่อเสียงและคุณูปการให้กับสังคมมาโดยตลอด
ในส่วนของผลงานวิจัยทางการเกษตรที่สร้างคุณูปการแก่สังคม
นั้น ส่วนใหญ่งานวิจัยดังกล่าวจะเป็นงานวิจัยด้านพืชและสัตว์ ซึ่งคณาจารย์
และบุคลากรมีความเชี่ยวชาญอย่างสูง โดยงานวิจัยเหล่านี้จะเน้นในเรื่องการ
วิจัยพันธุ์พืช/สัตว์ชนิดใหม่ และการปรับปรุงพันธุ์พืช/สัตว์ เพื่อให้สามารถต้านทาน
โรค สภาพอากาศ และช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรสำาหรับผลงานวิจัยและ
พัฒนาที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางได้แก่งานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์
ข้าวโพดสุวรรณ 1 และสุวรรณ 2301 ลูกผสมพันธุ์แรกของประเทศไทยที่ได้
รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นแห่งชาติประจำาปี 2532 รวมถึงการปรับปรุงพันธุ์
ข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยวพันธุ์อินทรี 1 และอินทรี 2 และพันธุ์ KSSC 978
ซึ่งมีการเผยแพร่ให้เกษตรกรและโรงงานแปรรูปนำาไปเพาะปลูก นอกจาก
นี้ยังมีงานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีความ
สามารถในการต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืชในระดับสูง ส่งผลให้ไม่จำาเป็น
ต้องใช้สารควบคุมศัตรูพืชอีกต่อไป และการปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อพันธุ์กำาแพงแสน
ที่ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นประจำาปี 2548 รางวัลดีเยี่ยม สาขา
เกษตรศาสตร์และชีววิทยาเป็นต้น (สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์, 2546; งานประชาสัมพันธ์คณะเกษตร กำาแพงแสน, 2556)
งานวิจัยดังกล่าวถือเป็นงานวิจัยที่มีความสำาคัญ ก่อให้เกิดองค์ความ
รู้ทางทฤษฎีใหม่ รวมถึงมีการปรับประยุกต์ใช้ได้จริงในภาคการเกษตรของไทย
สอดคล้องกับพื้นฐานสังคมเกษตรกรรมและนโยบายสนับสนุนของประเทศที่
มุ่งเน้นการพัฒนาในภาคเกษตรกรรมให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนประเทศ
2