Page 142 -
P. 142

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                    บทที่ 5


                              สรุปและข้อเสนอแนะ





                 ตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทย  มีการเลี้ยง
          โคเพื่อใช้งานในการทำาการเกษตรเป็นหลัก  เกษตรกรเลี้ยงโคไว้ในบ้านเพื่อ
          ใช้เป็นแรงงานและใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ และได้มีการพัฒนามาเป็นการ

          ประกอบอาชีพเลี้ยงโคเนื้อและโคนมเป็นอาชีพหลักเนื่องจากความต้องการ
          บริโภคเนื้อและนมที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วย

          งานที่เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาระบบการผลิตโคเนื้อและโคนมในทุกภาค
          ส่วน ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ทำาให้การเลี้ยงโคเนื้อ
          และโคนมมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถพัฒนาเป็นอาชีพหรือการเลี้ยงเชิง

          ธุรกิจได้

                 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ถือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาท
          สำาคัญ เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการศึกษาและการวิจัยทางด้าน

          การเกษตร  และเป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารและระบบสารสนเทศด้าน
          การผลิตปศุสัตว์ของประเทศ  สามารถให้ความรู้  ความเข้าใจ  สร้างสรร

          เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาให้แก่เกษตรกร สหกรณ์ และผู้สนใจทั่วไป
          เพื่อให้การผลิตและพัฒนาปศุสัตว์ของประเทศมีความเจริญก้าวหน้าและ
          ยั่งยืน  โดยเฉพาะงานด้านการผลิตโคเนื้อและโคนม  ซึ่งได้ดำาเนินการตาม

          ปณิธานดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า
          72 ปี

                 วิจัยและพัฒนาด้านการผลิตโคนมและโคเนื้อของมหาวิทยาลัย

          เกษตรศาสตร์เป็นผลงานที่มีความโดดเด่นเฉพาะในแต่ละสาขาและมีคุณ





     124
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147