Page 22 -
P. 22

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



          สาขาวิชาต่างๆ และนำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการเรียน การสอน และ
          พัฒนาด้านการเกษตรของประเทศไทย ส่งผลให้การวิจัยด้านการเกษตรของ

          มหาวิทยาลัยมีการพัฒนาและ ขยายตัวขึ้นตามลำดับ ซึ่งทางคณะอาจารย์
          และบุคลากรในสายวิชาการต่างทำงาน  อย่างเสียสละ  ด้วยความ

          เหน็ดเหนื่อย เพื่อสร้างชื่อเสียงและคุณูปการให้กับสังคม มาโดยตลอด

                  ในส่วนของผลงานวิจัยทางการเกษตรที่สร้างคุณูปการแก่สังคมนั้น
          ส่วนใหญ่งานวิจัยดังกล่าวจะเป็นงานวิจัยด้านพืชและสัตว์ ซึ่งคณาจารย์และ

          บุคลากร มีความเชี่ยวชาญอย่างสูง โดยงานวิจัยเหล่านี้จะเน้นในเรื่องการ
          วิจัยพันธุ์พืช/สัตว์ชนิดใหม่ และการปรับปรุงพันธุ์พืช/สัตว์ เพื่อให้สามารถ
          ต้านทานโรค สภาพอากาศ และช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกร สำหรับผล

          งานวิจัยและพัฒนาที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ได้แก่ งานวิจัยการ
          ปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดสุวรรณ 1 และสุวรรณ 2301 ลูกผสมพันธุ์แรกของ

          ประเทศไทยที่ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2532 รวมถึง
          การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยวพันธุ์อินทรี 1 และอินทรี 2 และ
          พันธุ์ KSSC 978 ซึ่งมีการเผยแพร่ให้เกษตรกรและโรงงานแปรรูปนำไปเพาะ

          ปลูก นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
          ที่มีความสามารถในการต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืชในระดับสูง ส่งผลให้

          ไม่จำเป็นต้องใช้สารควบคุมศัตรูพืชอีกต่อไป และการปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อ
          พันธุ์กำแพงแสนที่ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นประจำปี 2548 รางวัล
          ดีเยี่ยม สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา เป็นต้น (สถาบันวิจัยและพัฒนา

          แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2546; งานประชาสัมพันธ์คณะเกษตร
          กำแพงแสน, 2556)

                  งานวิจัยดังกล่าวถือเป็นงานวิจัยที่มีความสำคัญ ก่อให้เกิดองค์

          ความรู้ทางทฤษฎีใหม่ รวมถึงมีการปรับประยุกต์ใช้ได้จริงในภาคการเกษตร






      2
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27