Page 89 -
P. 89

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                  จากโครงสร้างของเส้นทางสู่ผลกระทบของงานวิจัย (ภาพที่ 4.1)

          กระบวนการประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากงานวิจัยจึงเริ่มต้นการ
          คำานวณที่ปัจจัยป้อนเข้าผลผลิตผลลัพธ์จนไปสิ้นสุดที่ผลกระทบซึ่งสามารถ
          อธิบายได้ดังนี้


                  4.3.1) ระยะเวลาของการประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของ
          การวิจัยปรับปรุงพันธุ์มันสำาปะหลังพันธุ์ “เกษตรศาสตร์ 50”

                      ระยะเวลาที่ใช้ในการประเมินผลประโยชน์จากงานวิจัย

          สำาปะหลังพันธุ์  “เกษตรศาสตร์  50”พิจารณาระยะเวลาตั้งแต่เริ่มทำาการ
          วิจัยโครงการปรับปรุงพันธุ์มันสำาปะหลังในปี พ.ศ. 2519 โดยมหาวิทยาลัย
          เกษตรศาสตร์ได้แนะนำาพันธุ์สู่เกษตรกรในปี พ.ศ. 2536 จนถึงปี พ.ศ. 2554

          และในปัจจุบันนี้ปี พ.ศ. 2557 มันสำาปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ก็ยัง
          คงเป็นพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุด

                  4.3.2) ต้นทุนวิจัยและพัฒนาของมันสำาปะหลังพันธุ์ “เกษตรศาสตร์ 50”

                     เนื่องจากความจำากัดของการสืบค้นข้อมูลเชิงปริมาณในอดีต

          การคำานวณต้นทุนวิจัยมันสำาปะหลังพันธุ์ “เกษตรศาสตร์ 50” ในการศึกษา
          นี้เป็นการประมาณการต้นทุนการปรับปรุงพันธุ์มันสำาปะหลังแต่ละพันธุ์ใน

          ปัจจุบันที่ได้จากการให้สัมภาษณ์ของผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐในวงการปรับปรุง
          พันธุ์มันสำาปะหลังของไทยผลจากการสัมภาษณ์พบว่าต้นทุนการวิจัยและ
          พัฒนาพันธุ์มันสำาปะหลัง ซึ่งเหมารวมค่าตอบแทนนักวิจัยค่าจ้างต้นทุนการ

          ตลาดการประชาสัมพันธ์ต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรเมื่อคำานวณหาค่า
          เฉลี่ยของมูลค่าปัจจุบันของต้นทุนการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์มันสำาปะหลังเฉลี่ย

          รวมแล้วมีต้นทุนประมาณ 1.5 ล้านบาทต่อปี โดยจำาแนกเป็นต้นทุนในการ
          วิจัยและพัฒนาประมาณ 529,325 บาทต่อปี และต้นทุนการปรับปรุงสาย
          พันธุ์มันสำาปะหลังที่ได้จากการประมาณการจากนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ





      74
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94