Page 61 -
P. 61
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผลผลิตของโครงการวิจัยมันสำาปะหลัง ประกอบด้วย สายพันธุ์/
พันธุ์พืช และจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นจากโครงการวิจัยมันสำาปะหลังทั้ง 3 สาขา
จำานวน 6 สายพันธุ์ คิดเป็นร้อยละ 4.62 ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่จำานวน
23 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 7.80 และสิ่งประดิษฐ์จำานวน 6 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ
4.26 นอกจากนี้ยังสร้างนวัตกรรมจำานวน 17 เรื่อง ร้อยละ 12.06 และ
ได้ข้อมูลพื้นฐานที่สามารถเก็บรวบรวมอยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ
จำานวน 4 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 2.84 และการจัดทำาแผนงาน
คู่มือและเอกสารเผยแพร่ต่างๆ จำานวน 11 ชิ้น ร้อยละ 7.80 การสร้าง
นักวิจัยรุ่นใหม่ระดับปริญญาตรี จำานวน 17 คน ร้อยละ 12.06 ระดับ
ปริญญาโท จำานวน 35 คน ร้อยละ 24.82 ระดับปริญญาเอกจำานวน
8 คน ร้อยละ 5.67 สนับสนุนการศึกษาปัญหาพิเศษจำานวน 12 เล่ม
ร้อยละ 8.51 และสนับสนุนวิทยานิพนธ์จำานวน 14 เล่ม คิดเป็นร้อยละ
9.93 (ตารางที่ 3.4)
โครงการวิจัยด้านมันสำาปะหลังแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ของผู้เชี่ยวชาญด้านมันสำาปะหลัง ของภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีบทบาทสำาคัญในการดำาเนินการวิจัย
ด้านมันสำาปะหลัง โดยส่วนใหญ่ได้รับเงินสนับสนุนงานวิจัยจากสถาบันวิจัย
และพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สวพ.) และมูลนิธิสถาบันพัฒนา
มันสำาปะหลังแห่งประเทศไทยและแหล่งอื่นๆ อาทิเช่น สำานักงานคณะ
กรรมการวิจัยแห่งชาติ สำานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง
ชาติ เป็นต้น
งานวิจัยด้านมันสำาปะหลังมีบทบาทสำาคัญอย่างยิ่งในการเป็น
รากฐานสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาภูมิปัญญา แก้ปัญหา
และพัฒนาประเทศ ในระยะเวลาที่ผ่านมาคณาจารย์นักวิจัยของมหาวิทยาลัย
46