Page 106 -
P. 106

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                     บทที่ 5



                                สรุปและข้อเสนอแนะ




                     ในปี พ.ศ. 2527 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้พัฒนาสายพันธุ์
            มันสำาปะหลังใหม่ขึ้นมา ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมระหว่าง พันธุ์ระยอง

            1 กับ ระยอง 90 และได้ประกาศเป็นพันธุ์ใหม่อย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ.
            2536 โดยให้ชื่อว่า พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 พันธุ์นี้ให้ผลผลิตและปริมาณ

            แป้งในหัวสูงกว่าพันธุ์ระยอง 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีการแนะนำา
            ให้เกษตรกรปลูกมันสำาปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536
            เป็นต้นมาและเป็นพันธุ์มันสำาปะหลังพันธุ์ใหม่ที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุด

            แม้ว่าในปัจจุบันจะมีพันธุ์มันสำาปะหลังเกิดใหม่  จำานวนหลายพันธุ์  เช่น
            ห้วยบง 60 และห้วยบง 80 เป็นต้น แต่พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ก็ยังคงเป็น

            พันธุ์ที่ได้รับการไว้วางใจจากเกษตรกรจนทุกวันนี้  ดังนั้นการประเมินผล
            ประโยชน์จากงานวิจัยพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 จึงมีความสำาคัญ รายงานนี้
            มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบของงานวิจัยด้านพันธุ์มันสำาปะหลัง

            ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

                     นับเป็นเวลากว่า 40 ปี ที่ประเทศไทยมีการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์
            มันสำาปะหลังอย่างต่อเนื่อง  จนเกิดเป็นงานวิจัยมากมายโดยงานวิจัยนี้ได้

            รวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมันสำาปะหลัง  สามารถแบ่งออกได้เป็น
            3 สาขา คือ สาขาเกษตร และสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขา

            สังคมศาสตร์และอื่นๆ ซึ่งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมันสำาปะหลังส่วนใหญ่จะ
            เป็นงานวิจัยของสาขาเกษตร รองลงมาคือสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
            และสาขาสังคมศาสตร์และอื่นๆ ตามลำาดับ ในส่วนของงานวิจัยพื้นฐานจะ






                                                                             91
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111