Page 119 -
P. 119
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
การแก้ไขหรือการระมัดระวัง ควรจะเริ่มที่การออกแบบและในการติดตั้งให้มีระยะช่องว่างให้น้อยที่สุด แต่ไม่
เกิดการขูดขีดพื้น หรือถ้าเป็นไปได้ควรติดแถบป้องกันอากาศรั่วซึมที่ใต้บานประตู ไม่ว่าจะเป็นแถบกันความรั่วอย่าง
ดีมีราคาไม่แพง หรือการติดตั้งระบบ Weather Stripping Drop ที่จะเป็นการป้องกันการรั่วไหล และการสูญเสีย
พลังงานกําลังไฟฟ้าและเงินทองได้เป็นอย่างดี
บริเวณขอบหน้าต่างหรือประตู ควรมีการติดตั้ง
Weather Stripping Drop ซึ่งจะช่วยป้องกันการ
รั่วไหลของอากาศเย็นได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ
การลดอัตราการรั่วซึมของอากาศเย็นออก
ภายนอกให้น้อยลงอุดรอยต่อให้กับช่องที่เดินท่อผ่านผนังให้สนิท รอยต่อต่างๆ เช่น ตามวงกบ บานหน้าต่าง และ
ประตูกับกําแพง ระหว่างผนังกับฐานราก ระหว่างกําแพงกับหลังคา รอยต่อระหว่างผนัง หรือช่องที่เจาะเตรียมไว้ที่
พื้นผนัง หรือหลังคาสําหรับการเดินท่อต่างๆ ต้องอุดให้สนิทด้วย ซีเมนท์และซิลิโคน (Silicone)
อุดรอยต่อระหว่างผนังกับวงกบหน้าต่างด้วย
ซิลิโคน โดยต้องอุดให้สนิท เพื่อป้องกันการ
รั่วซึมของอากาศเย็นออกสู่ภายนอกอาคาร
ติดตั้งประตูแบบ 2 ชั้น บริเวณทางเข้า-ออกของห้างสรรพสินค้า ควรติดตั้งบานประตูแบบ 2 ชั้น
(Vestibule) เพื่อช่วยลดการรั่วไหลของลมเย็นภายในอาคารออกสู่ภายนอก ซึ่งจะทําให้เครื่องปรับอากาศต้อง
ทํางานหนักมากขึ้น สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า
116