Page 3 -
P. 3
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ค ำน ำ
ความรุ่งเรืองของมนุษย์ชาติที่มีมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาอันยาวนานนั้นมีความผูกพันกับ
การเกษตรกรรมอย่างแนบแน่น ด้วยเหตุที่ว่าปัจจัยสี่ในการด ารงชีวิตนั้นในเบื้องต้นมาจากการเกษตร
ด้วยความส าคัญดังกล่าวนี้ ประเทศไทยซึ่งเริ่มต้นการพัฒนาเศรษฐกิจในอดีตด้วยการเกษตร จึงได้มี
การก าหนดนโยบายการเกษตรมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีจนถึงปัจจุบัน นโยบาย
การเกษตรดังกล่าวนี้มีที่มาจากหลายแห่ง ทั้งจากจดหมายเหตุ กฎและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร
ค าแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่างๆ
มติคณะรัฐมนตรี แผนบริหารราชการแผ่นดิน เป็นต้น อย่างไรก็ตามนโยบายการเกษตรเหล่านี้ในปัจจุบันไม่
มีการรวบรวมและจัดท าเป็นฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ จึงได้มีโครงการวิจัยเรื่อง “พลวัตนโยบายการเกษตร
ของไทย: ความเป็นมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน” ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ด้าน คือ (1) เพื่อรวบรวมนโยบาย
การเกษตรของไทยด้านต่างๆ ในอดีตจนถึงปัจจุบัน (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยและเหตุการณ์ส าคัญๆ ที่น าไปสู่การ
เปลี่ยนแปลงนโยบายการเกษตรของไทย และ (3) เพื่อจัดท าเป็นฐานข้อความรู้ให้อนุชนรุ่นต่อๆ ไปได้ใช้ในการ
ค้นคว้าอ้างอิง
รายงานโครงการวิจัยเรื่องนี้ประกอบด้วยเนื้อหาหลักที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน เป็นเอกสารรวม 4 เล่ม
ในส่วนแรกเล่ม 1 และ 2 นั้น จะมีทั้งสิ้น 16 บท เริ่มด้วยความเป็นมาของการศึกษาในบทน า ในบทที่ 2
เป็นการทบทวนถึงวิวัฒนาการการเกษตรกับการปกครองของราชอาณาจักรไทย ในบทที่ 3 ถึง บทที่ 15
เป็นการทบทวนนโยบายการเกษตรตั้งแต่ พ.ศ. 1762 ถึง พ.ศ. 2556 โดยแบ่งตามช่วงเวลาต่างๆ ในบทที่
16 เป็นการวิเคราะห์ถึงปัจจัยและเหตุการณ์ที่น าไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเกษตรของไทย ทั้งกรณี
จากปัจจัยต่างประเทศและปัจจัยในประเทศ
ในส่วนที่สองประกอบด้วยเอกสาร 2 เล่ม จะเป็นการน านโยบายและเหตุการณ์ที่ส าคัญที่ทบทวนไว้แล้ว
ในส่วนที่ 1 มาจัดเป็นนโยบายเฉพาะเรื่อง รวม 18 เรื่อง โดยในเล่มที่ 1 จะประกอบด้วยเรื่องที่ 1 ถึงเรื่องที่ 9
และในเล่มที่ 2 จะประกอบด้วยเรื่องที่ 10 ถึงเรื่องที่ 18 ดังนี้ (1) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร
(2) นโยบายที่ดินเพื่อการเกษตร (3) นโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในประเทศไทย
(4) นโยบายการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (5) นโยบายการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม (6) นโยบายการ
ก าหนดเขตเหมาะสมส าหรับการปลูกพืช (Zoning) (7) นโยบายน้ าเพื่อการเกษตร (8) นโยบายปุ๋ย
(9) นโยบายข้าว (10) นโยบายยางพารา (11) นโยบายมันส าปะหลัง (12) นโยบายอ้อยและน้ าตาลทราย
(13) นโยบายการปลูกพืชพลังงานแทนพืชอาหาร (14) นโยบายเรื่องพืชดัดแปลงพันธุกรรม
(15) นโยบายปศุสัตว์ (16) นโยบายการประมง (17) นโยบายเกษตรต่างประเทศ และ (18) นโยบายการให้ความ
ช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติ
ก