Page 3 -
P. 3

โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี









                                                               คํานํา

                                 หนังสือสัทวิทยา :    การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา จัดทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงคเพื่อเปนคูมือ
                           การศึกษาสัทวิทยาพื้นฐานในแนวทฤษฎีเพิ่มพูน ซึ่งรวมทฤษฎีเพิ่มพูนคลาสสิกและทฤษฎีเพิ่มพูน

                           สมัยใหม  สําหรับประยุกตใชในการวิเคราะหระบบเสียงของภาษาตางๆ

                                 ทฤษฎีสัทวิทยาเปรียบเสมือนเครื่องมือหรืออุปกรณ และภาษาธรรมชาติเปรียบเสมือนวัตถุดิบ
                           หากเปรียบเทียบกับการถลุงแร  ทฤษฎีก็คือเครื่องมือที่ใชถลุง  ภาษาคือทรัพยากรธรรมชาติอันล้ําคา

                           ผลลัพทที่ไดจากกระบวนการ ก็คือไวยากรณซึ่งเปนผลการวิเคราะหภาษา   ฉะนั้นทฤษฎีที่ดีจะนํามาซึ่งผล
                           การวิเคราะหที่ดี ที่แสดงลักษณะภาษาที่เปนระบบระเบียบที่สวยงามอยางแจมชัด


                                 ทฤษฎีสัทวิทยาเพิ่มพูนเปนทฤษฎีที่ดี ซึ่งนักสัทวิทยาเพิ่มพูนตั้งแตชอมสกี้และแฮลี (1968)
                           ไดกลาวอางและพิสูจนตนเองวาเปนทฤษฎีที่มีศักยภาพในการอธิบายภาษา  และไดพิสูจนวาเปนทฤษฎี
                           ที่ใหผลวิเคราะหที่เปนสามัตถิยะทางภาษาที่แทจริงของผูพูด ซึ่งสมควรอยางยิ่งที่นักภาษาศาสตรจะศึกษา

                           และพิจารณาใชเปนแนวทางในการวิเคราะหระบบเสียงของภาษาธรรมชาติ

                                 หนังสือ “สัทวิทยา”นี้ อธิบายทฤษฎีสัทวิทยาเพิ่มพูนตามลําดับขั้นตอน  เริ่มตนจากการสรุป
                           ภาพรวมในบทที่ 1      และ ทบทวนพื้นฐานทางสัทศาสตรในเรื่องสรีระและกายภาพของเสียงพยัญชนะ

                           สระและระบบเสียงของภาษาในบทที่ 2  และ 3     บทที่ 4  และ 5  ศึกษาสัทลักษณยอยของเสียง
                           และการจําลองการเก็บเสียงและคลังศัพท    บทที่ 6 ศึกษาพฤติกรรมของเสียงและกฎทางเสียงซึ่งมีลักษณะ
                           สากล และเปนกุญแจสําคัญของการวิเคราะหระบบเสียงของภาษา     บทที่ 7-10  ศึกษาสัทสัมพันธ

                           และทฤษฎีเพิ่มพูนรวมสมัยยุคหลังเอสพีอี  โดยเนนสัทวิทยาอัตภาค   สัทวิทยาโครงสรางการเนนพยางค
                           และพจนสัทวิทยา  นอกจากนี้ผูเขียนยังไดรวบรวมแบบฝกหัดไว 30  แบบฝกหัดทายเลม สําหรับฝก
                           ภาคปฏิบัติควบคูไปกับการศึกษาภาคทฤษฎี



                                 ผูเขียนขอขอบพระคุณนักภาษาศาสตรที่เปนครู นักวิชาการผูซึ่งเปนแบบอยางที่ดีและสนับสนุน
                           งานวิชาการของผูเขียนมาโดยตลอด Prof.Dr. Robert Harms    Prof.Dr.Bjorn Lindblom  Prof.Dr.George

                           Huttar    Mrs. Joyce Overholt    ผูช วยศาสตราจารย ดร.มรว.กัลยา ติงศภัทย      ศาสตราจารย ดร. ธีระ
                           พันธ   เหลืองทองคํา     ศาสตราจารย ดร. ปราณี   กุลละวาณิชย     ศาสตราจารย ดร. พิณทิพย ทวยเจริญ ,
                           ผูชวยศาสตราจารย ดร.  สุดาพร ลักษณียนาวิน    ศาสตราจารย ดร.  สุวิไล เปรมศรีรัตน

                           ศาสตราจารย ดร.อุดม วโรตมสิกขดิตถ,

                                 ขอขอบคุณ คุณทรรศวรรณ ชลวีระวงศ     คุณอัปสร เตียวเจริญกิจ    คุณเสวีวร พรหมขุนทอง ที่
                           ไดชวยจัดพิมพและตรวจแกตนฉบับจนสําเร็จลุลวงดวยดี
   1   2   3   4   5   6   7   8