Page 17 -
P. 17
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โรงเรือนในกำรเลี้ยงไก่ไข่
การจัดสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่เพื่อการค้านั้น ต้องสร้างให้โรงเรือนถูกแบบ แข็งแรง
ทนทาน และสามารถใช้เลี้ยงไก่ได้นานปี ผู้เลี้ยงไก่ไข่จะต้องสร้างโรงเรือนให้ถูกต้องตาม
มาตรฐาน เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย โรงเรือนที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
1. ป้องกันแดด ลม และฝนได้ดี
2. แข็งแรง ทนทาน ป้องกันศัตรูของไก่ไข่ต่างๆได้ เช่น นก หนู แมว สุนัข
3. รักษาความสะอาดได้ง่าย
4. ควรห่างจากชุมชนพอสมควร และไม่ควรอยู่ทางต้นลมของบ้าน เพราะกลิ่นขี้ไก่
จะไปรบกวนได้
5. ควรเป็นแบบที่สร้างง่าย ราคาถูก ใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น
6. หากมีโรงเรือนไก่ไข่หลายหลัง ไม่ควรสร้างให้เป็นเรือนแฝด ควรเว้นระยะห่าง
ของแต่ละโรงเรือนไม่น้อยกว่า 10 เมตร เพื่อให้มีการระบายอากาศ ความชื้นได้ดี และช่วย
ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคด้วย
รูปแบบของโรงเรือนไก่ไข่
ลักษณะและการจัดสร้างโรงเรือนเพื่อใช้เลี้ยงไก่ไข่มีหลายรูปแบบ การจะสร้าง
แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์รูปแบบของการเลี้ยง ความยากง่าย ทุน และวัสดุอุปกรณ์
ที่ใช้สร้างโรงเรือน โดยทั่วไปโรงเรือนไก่ไข่ของประเทศไทยมีรูปแบบต่างๆ ดังนี้
1. แบบเพิงหมาแหงน เป็นโรงเรือนที่สร้างง่ายที่สุด เพราะไม่สลับซับซ้อน
ลงทุนน้อย แต่มีข้อเสียคือ ถ้าหันหน้าโรงเรือนเข้าในแนวทางของลมมรสุม ฝนจะสาดเข้าไปใน
โรงเรือนได้ โรงเรือนแบบนี้มีความทนทานน้อย
2. แบบหน้าจั่วชั้นเดียว จะสร้างยากกว่าแบบเพิงหมาแหงน เพราะมีความประณีต
ในการก่อสร้างมากขึ้น ดังนั้น ค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าแรงงานในการก่อสร้างจะสูงกว่าแบบแรก
แต่โรงเรือนแบบหน้าจั่วชั้นเดียวสามารถป้องกันแดด ฝนได้ดีกว่าแบบเพิงหมาแหงน และ
มีความทนทานมากกว่า
3. แบบหน้าจั่วสองชั้น ลักษณะโรงเรือนแบบนี้จะสร้างยากกว่า 2 แบบแรก
แต่มีข้อดีคือ อากาศในโรงเรือนแบบนี้จะเย็นกว่า ทั้งนี้เพราะโรงเรือนแบบจั่วสองชั้นระบาย
ระบายอากาศร้อนได้ดี
กำรเลี้ยงไก่ไข่ไทย กรมปศุสัตว์ 15