Page 57 -
P. 57
ิ
์
ิ
ื
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
41
“นวัตกรรม” เป็นมิติสำคัญของนวัตกรรม 3 ประเด็น (เทิดชาย ช่วยบำรุง, 2552) ดังนี้
1. ความใหม่ (Newness) หมายถึง เป็นสิ่งที่ถูกพัฒนาขึ้น อาจมีลักษณะเป็นผลิตภัณฑ์บริการ หรือ
กระบวนการโดยจะเป็นการปรับปรุงจากของเดิมหรือพัฒนาขึ้นมาใหม่ให้มีรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม
2. ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefits) นวัตกรรมสามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้
จากการพัฒนาสิ่งใหม่นั้น ๆ ซึ่งผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นสามารถวัดเป็นตัวเงินโดยตรง หรือไม่เป็นตัวเงินก็ได้
3. การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ (Knowledge and Creativity Idea) จะต้องใช้ความรู้
และความคิดสร้างสรรค์เป็นฐานของการพัฒนาให้เกิดขึ้นใหม่
ระบบขนส่งมวลชนและเทคโนโลยีดิจิทัลครบวงจร เป็นสิ่งสำคัญเพื่ออำนวยความสะดวกในการ
เดินทางท่องเที่ยว เช่น บริการแบบไร้เงินสด ระบบเตือนภัย การช่วยเหลือฉุกเฉิน การบริการทางการแพทย์
สำหรับนักท่องเที่ยวเน้นเทคโนโลยีเป็นหลักในการจัดการการท่องเที่ยว สำหรับปี 2562 เน้นการส่งเสริมและ
ยกระดับการเติบโตธุรกิจนวัตกรรมท่องเที่ยวใน 3 ด้าน ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Culture Tourism)
ศึกษาเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม, การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agri Tourism) เรียนรู้วิถีเกษตรกรรม
และการท่องเที่ยงเชิงสุขภาพ (Health/Wellness Tourism) เยี่ยมชมสถานที่สวยงามในแหล่งท่องเที่ยวทาง
ธรรมชาติ วัฒนธรรมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ หรือทำกิจกรรมส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพ
การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงการเกษตรให้ประสบความสำเร็จจะต้องมีการพฒนาและปรับปรุงอย่าง
ั
ต่อเนื่อง ทั้งด้านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมีความสำคัญในการทำให้การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ประสบ
ความสำเร็จ ซึ่งจะสอดคล้องกับองค์ประกอบการท่องเที่ยว 5As (Dickman, 1996) ดังนี้
1. สิ่งดึงดูดใจ (Attraction) เป็นการจัดสถานที่ที่เต็มไปด้วยดอกไม้อย่างมีความคิดสร้างสรรค์
2. กิจกรรม (Activity) เป็นกิจกรรมรองรับให้กับนักท่องเที่ยวหลายอย่าง เช่น การเดินทาง
ท่องเที่ยวตามเส้นทางที่กำหนดหรือการเรียนกิจกรรมการเกษตร กิจกรรมจึงส่งผลทำให้นักท่องเที่ยวนั้น ได้ลง
มือปฏิบัติหลายอย่างตามความถนัดและความต้องการ
3. ที่พัก (Accommodation) มีการรองรับให้กับนักท่องเที่ยวทั้งการค้างคืนเพื่อชมบรรยากาศหรือ
การมาท่องเที่ยวไปเช้าเย็น-กลับและเพียงพอต่อความต้องการได้เป็นอย่างดี
4. การเดินทาง (Accessibility) เป็นเส้นทางท่องเที่ยวไม่ห่างไกลจากเขตเมือง จึงทำให้นักท่องเที่ยว
มาได้แบบสะดวกโดยไม่ใช้เวลานาน และติดถนนหรือเป็นเส้นทางหลัก
5. สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) เป็นสิ่งสนับสนุนสำหรับสถานที่ท่องเที่ยว มีลานจอดรถที่
กว้างขวางรองรับนักท่องเที่ยว มีห้องน้ำที่สะอาดทีได้ให้ความสำคัญต่อสุขอนามัยและมีจุดบริการนักท่องเที่ยว
ไว้รองรับเสมอ
การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี (Everette, 1988) โดยใช้
นวัตกรรมพลังงานแสงอาทิตย์หรือที่เรียกว่า โซลาเซลล์ มาใช้ผลิตระบบไฟฟ้า วิธีการบำรุง การให้น้ำ การใส่
ปุ้ยแบบอัตโนมัติ และประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะผล อีกทั้งซึ่งมีผลที่ดีจากนักท่องเที่ยวและเกษตรกรที่เข้ามา
เรียนรู้และสามารถ นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งมนวัตกรรมการอบแห้ง ทำให้นักท่องเที่ยวสนใจต้องการ
ี
มาอีกด้วย (จอมภัค คลังระหัด, วิสวัส ทองธีรภาพ, ธนภัทร์ จงไกรจักร, ภิญญดา อินทนิล, 2560)