Page 56 -
P. 56
ิ
ิ
์
ิ
ิ
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
40
2.5 แนวคิดนวัตกรรมการท่องเที่ยวในรูปแบบของทางเลือกประกอบธุรกิจ (Options)
นวัตกรรม คือ ความคิด การปฏิบัติ หรือการประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ หรือการพัฒนาสิ่งเดิมที่มีอยู่แล้วให้ใช้
ได้ผลดียิ่งขึ้น ส่งให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีกว่าเดิม (สุภาพร เพียรดี, 2554) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่
จากการใช้ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ใหม่
บริการใหม่ หรือกระบวนการใหม่ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ และสังคม (สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์,
2553) โดยสามารถแบ่งนวัตกรรมออกได้เป็น 4 ประเภท (4Ps’ of Innovation) ดังนี้
1. Product Innovation คือ การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์หรือบริการ
2. Process Innovation คือ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการในการผลิต การนำเสนอผลิตภัณฑ์ และ
การนำออกสู่ตลาด
3. Position Innovation คือ เปลี่ยนแปลงรูปแบบของสินค้าหรือบริการ หรือเปลี่ยนการรับรู้ที่มีต่อ
สินค้าหรือบริการในมุมมองใหม่
4. Paradigm Innovation คือ การทำให้เกิดนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงกรอบความคิดโดยมี
กระบวนการเกิดนวัตกรรมไว้ ดังนี้
4.1 การค้นหา (Searching) คือ การสำรวจทั้งภายในและภายนอก เพื่อหาโอกาสและอุปสรรค
นำไปสู่จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
4.2 การเลือกสรร (Selecting) คือ การตัดสินใจเลือกและนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดย
การเลือกต้องมีความสอดคล้องกับเป้าหมายที่ที่กำหนดไว้
4.3 การนำไปปฏิบัติ (Implementing) คือ การนำสิ่งสร้างสรรค์ใหม่ออกสู่ตลาดทั้งภายในและ
ภายนอกแหล่งท่องเที่ยว
4.4 การเรียนรู้ (Learning) คือ สิ่งที่องค์กรควรศึกษาเรียนรู้ในขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ ของ
นวัตกรรม เพื่อก่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่แข็งแกร่ง และนำไปพัฒนาวิธีการจัดการกระบวนการ
เหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน่วย
อุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว นวัตกรรมการท่องเที่ยวต้อง
อาศัยประโยชน์จากนวัตกรรมทางธุรกิจอื่น เช่น นวัตกรรมทางการคมนาคมอย่างสายการบินต้นทุนต่ำ การ
พัฒนาของระบบสารสนเทศ เพื่อการเขาถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ง่ายขึ้น เป็นต้น (เทิดชาย ช่วยบำรุง, 2552; พชร
้
ั
ภรณ์ สุนทรวิบูลย์, 2561)
นวัตกรรมเป็นสิ่งที่มีบทบาทและความสำคัญอย่างมากในการสร้างศักยภาพและความได้เปรียบใน
เชิงประสิทธิภาพของการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้ความสำคัญเรื่องของการต่อยอดความรู้เดิม และการ
ปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ หรือการสร้างสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์
ต่อการทำงาน นวัตกรรมที่ดีควรให้ความสำคัญในเรื่องของความสามารถในการนำมาใช้ได้จริงในการทำงาน
และในชีวิตประจำวัน โดยพิจารณาจากความเป็นไปได้ในการเกิดขึ้นของนวัตกรรม และต้นทุนที่อาจจะเกิดขึ้น
ในการดําเนินงานอีกด้วย