Page 54 -
P. 54
์
ิ
ิ
ื
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
38
กระบวนทัศน์ที่ 2 ปัจจัยภายในองค์กรระดับจุลภาค (Internal-Micro Factors) ส่งผลต่อการ
ตัดสินใจลงทุน
กระบวนทัศน์ปัจจัยภายในองค์กรระดับจุลภาค (Internal-Micro Factors) ใช้ VRIO Framework
เป็นเทคนิคการวิเคราะห์สำหรับทรัพยากรที่ประเมินมิติภายใน องค์กรครอบคลุมเศรษฐศาสตร์จุลภาคใน
ระดับประเทศที่บูรณาการประสบการณ์อันมีค่าและความรู้ขององค์กร ได้แก่ ปัจจัยคุณค่า (Value)
เป็นทรัพยากรที่สร้างมูลค่าให้กับบริษัทที่ต้องตระหนักถึงโอกาสและภัยคุกคาม เป็นแหล่งภายในของ
ความสามารถในการแข่งขันของบริษัท และอนุญาตให้บริษัทสร้างความแตกต่างเพื่อลดต้นทุนหรือเพิ่มรายได้
และสอดคล้องกบปัจจัยสำคัญของความสำเร็จของประสบการณ์ขององค์กร ปัจจัยลักษณะพิเศษ (Rarity) ช่วย
ั
ให้บริษัทได้เปรียบในการแข่งขันกับทรัพยากรที่หาประโยชน์ได้จากลักษณะเฉพาะขององค์กรและความเป็น
ผู้นำ ปัจจัยที่คู่แข่งไม่สามารถเลียนแบบได้ (Imitability) เป็นความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ เช่น ค่านิยมในการ
บริหารจัดการ แนวปฏิบัติในการบริหารจัดการ วัฒนธรรมองค์กร การทำงานเป็นทีม ความไว้วางใจ มิตรภาพ
และทัศนคติของพนักงาน ปัจจัยองค์กร (Organization) เป็นความได้เปรียบทางการแข่งขันที่เกิดจากบริษัท
ดำเนินการและเชื่อมโยงทรัพยากรเชิงกลยุทธ์และไม่ใช่เชิงกลยุทธ์ เช่น การใช้ประโยชน์จากกระบวนการของ
องค์กรเพื่อผลิตและให้บริการ (Sangnak, Poo-Udom, Tintabura, and Intarajak, 2021)
กระบวนทัศน์ที่ 3 ปัจจัยภายนอกองค์กรระดับมหภาค (External-Macro Factors) ส่งผลต่อ
การตัดสินใจลงทุน
ปัจจัยภายนอกองค์กรระดับมหภาค (External-Macro Factors) เป็นการประเมินสิ่งแวดล้อมที่ไม่
สามารถควบคุมได้ ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจขององค์กรที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม และกฎหมาย ซึ่งธุรกิจดำเนินการดังนี้ ปัจจัยการทางการเมือง
(Political) เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อศักยภาพของความไม่แน่นอนและต่อธุรกิจ ซึ่งองค์กรต้องคำนึงถึง
สถานการณ์ทางการเมือง ปัจจัยทางเศรษฐกิจ (Economic) เสรีภาพทางเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้ต่อหัว อัตรา
ดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ ระบบธนาคารที่สร้างผลกระทบเชิงลบและเป็นบวกต่อ
การลงทุน ปัจจัยทางสังคม (Social) มีผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนในเกี่ยวกับความดึงดูดใจ มีผลกระทบ
อย่างมากต่อความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท และวิธีที่บริษัทดำเนินการ ได้แก่ จิตสำนึกด้าน
วัฒนธรรมและสุขภาพ อัตราการเติบโตของประชากร การกระจายอายุ ทัศนคติในอาชีพ และความปลอดภัย
ทางสังคม ปัจจัยทางเทคโนโลยี (Technology) ส่งผลกระทบต่อแหล่งเทคโนโลยีที่เพิ่มสมรรถนะของบริษัท
กิจกรรมการพัฒนาเทคโนโลยี ได้แก่ กิจกรรม การวิจัยและพัฒนา ระบบอัตโนมัติ สิ่งจูงใจด้านเทคโนโลยี และ
อัตราการเปลี่ยนแปลงทาง ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) เป็นปัจจัยภายในประเทศ ที่ส่งผลต่อ
นโยบายสิ่งแวดล้อมภายในประเทศ มีกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดยิ่งขึ้น ได้แก่ สภาพอากาศ สภาพ
ภูมิอากาศ ปัจจัยทางกฎหมาย (Legal) เป็นการดำเนินธุรกิจตามกฎหมายของรัฐบาลโดยการบังคับใช้
กฎระเบียบด้านการลงทุน เช่น กฎระเบียบภาษีนโยบายในอนาคต กฎหมายการจัดหาที่ดิน การจำกัดส่วนของ
ผู้ถือหุ้น เป็นต้น (Sangnak, Poo-Udom, Tintabura, and Intarajak, 2021)