Page 52 -
P. 52
ิ
์
ิ
ิ
ื
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
36
เจรจาและความร่วมมือที่สร้างขึ้นบน รากฐานของความไว้วางใจและความเคารพซึ่งกันและกัน การใช้
แบบจำลองของ Porter ในการบันทึกกิจกรรมหลักและการสนับสนุนในการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าเป็นเรื่อง
ใหม่ โดยเฉพาะกิจกรรมสนับสนุนระบบการเกษตรมีส่วนช่วยในการบรรลุผลและปรับปรุงแบบจำลองเศรษฐกิจ
ของประเทศ รวมถึง นโยบายอุตสาหกรรมและความเป็นสากลและกรอบการทำงานของสถาบัน (Anderson
and Juma, 2011)
2.4 การวิเคราะห์การลงทุนในธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในบริบทของความหลากหลาย
รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในรูปแบบของธุรกิจ และธุรกิจนั้นมีหลายรูปแบบโดยมี
ลักษณะเป็นเจ้าของกิจการ ลักษณะกิจกรรมการเกษตร ขนาดพื้นที่ และลักษณะของนักท่องเที่ยวเป็นเกณฑ์
ในการกำหนดรูปแบบการท่องเที่ยว เกษตรกรสามารถขยายการทำเกษตรจากการทำเกษตรแบบดั้งเดิมหรือ
เกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้ตามสภาพพื้นที่ ความเหมาะสมของตัวเกษตรกรเอง และ
ตามหลักการพื้นฐานของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และสิ่งที่นักท่องเที่ยวคาดหวังจากการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
โดยขั้นตอนการเข้าสู่ผู้ประกอบการแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงเกษตรรายใหม่นั้น เกษตรกรเพียงดำเนินการขยายหรือ
ปรับเปลี่ยนพื้นที่หรือกิจกรรมทางการเกษตรบางส่วน เช่น การปรับการเพาะปลูกเชิงเดี่ยวเป็นการเกษตรแบบ
ผสมผสาน การจำหน่าย แบบขายส่ง เป็นการขายปลีกและการแปรรูปสินค้า และจำหน่ายโดยตรงที่แหล่ง
ท่องเที่ยว เน้นคุณภาพสินค้ามากขึ้น เพื่อสามารถกำหนดราคาได้อย่างเหมาะสมกับคุณภาพใช้การตลาดแบบ
บูรณาการ การใช้แรงงานท้องถิ่น เน้นความปลอดภัยในสินค้าและการท่องเที่ยว เป็นต้น เพื่อให้เป็นสถานที่ทำ
กิจกรรมของนักท่องเที่ยวอย่างสมบูรณ์แบบและยั่งยืน โดยเกษตรกรเป็นผู้ให้ความรู้ด้านการเกษตรควบคู่กับ
การท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลให้เกิดรายได้ นอกภาคการเกษตรส่วนหนึ่ง และเกิดการพัฒนาถ่ายทอด
เทคโนโลยีการเกษตรระหว่างเกษตรกรด้วยกันที่มาเยี่ยมชม ผลของการท่องเที่ยวยังทำให้เกิดความร่วมมือกัน
ภายในครอบครัว ชุมชน ตำบล และการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรเกษตรภายในท้องถิ่น ซึ่งผลที่เกิดขึ้น
ดังกล่าวกลายเป็นความโดดเด่นของท้องถิ่นและตัวเกษตรกรเองลดปัญหาแรงงานย้ายถิ่น และเป็นการรักษา
พื้นที่สีเขียวและการทำการเกษตรไว้สู่รุ่นลูกหลานด้วย (ณัฏฐพงษ์ ฉายแสงประทีป, 2557)
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรต้องมองในเชิงธุรกิจและมีความสัมพันธ์กับปัจจัยหลายปัจจัยในระบบ
เศรษฐกิจ ทั้งในระดับจุลภาค (Micro) และมหภาค (Macro) ของระบบเศรษฐกิจ และเมื่อมองในรูปแบบของ
องค์กร จะต้องมองในรูปแบบปัจจัยภายใน (Internal) และภายนอกองค์กร (External) ที่มีความเป็น
สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย การพัฒนาเครื่องมือของการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบกลยุทธ์การ
ตัดสินใจลงทุนของผู้ประกอบการของการลงทุนในธุรกิจบริการโดยใช้การวิจัยแบบหลายขั้นตอน (Multiphase
Mixed Methods) ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์สามเส้า การสัมภาษณ์เชิงลึกโดยผู้เชี่ยวชาญ ด้วยวิธี Quad
Angulation และวิจัยด้วยการจัดสัมมนาด้วยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นตัวแทนของแต่ละภาคส่วน และเชิงปริมาณเป็น
การพยากรณ์ด้วยเทคนิควิธีพยากรณ์ สมการเชิงโครงสร้าง การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural
Equation Model: SEM) เพื่อให้ได้ แนวคิดกระบวนทัศน์ (Paradigm) ในรูแบบของการวิเคราะห์การรลงทุน
ในธุรกิจ ในเชิงพหุสังคมที่ซับซ้อนในหลายมิติ (Sangnak, Poo-Udom, Tintabura, and Intarajak, 2021)