Page 47 -
P. 47
ิ
ิ
ิ
ิ
ื
์
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
31
1.2 ความร่วมมือในแนวนอน (Horizontal Coordination) หมายถึง ความร่วมมือของบุคคลและ
องค์กรในระดับเดียวกันในห่วงโซ่คุณค่าเพื่อให้การดําเนินงานมีประสิทธิภาพและมีอำนาจต่อรองมากยิ่งขึ้น
เช่น ความร่วมมือหรือการรวมกลุ่ม เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่ช่วยให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies
of scale) ในการผลิต
1.3 ความร่วมมือในแนวดิ่ง (Vertical Coordination) ได้แก่ การทำสัญญาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
เช่น การทำสัญญาระหว่างเกษตรกรในการส่งวัตถุดิบให้กับโรงแรม
2. การสนับสนุนผู้ประกอบการใหม่เข้ามาในห่วงโซ่คุณค่า โดยเฉพาะการสนับสนุนเพื่อให้เกิดการ
เชื่อมโยงให้สมาชิกในชุมชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมมากขึ้น และลดข้อจํากัดต่าง ๆ ที่จําเป็นเพื่อให้เกิดการมี
ส่วนร่วมมากขึ้น การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว 5 ประการ (Netherlands
Development Organization, 2010) ดังนี้
2.1 คัดเลือกห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain Selection) ในแหล่งท่องเที่ยวหนึ่ง อุตสาหกรรม
ท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและห่วงโซ่คุณค่าย่อยจำนวนมาก จึงจําเป็นเลือกห่วงโซ่คุณค่าย่อยที่
ส่งผลกระทบด้านบวกมากที่สุดต่อประชากรที่ต้องการศึกษา (Populations) เช่น การกําหนดให้ประชากรที่
ต้องการศึกษาเป็นกลุ่มสมาชิกในชุมชนท้องถิ่นที่มีรายได้น้อย ควรเลือกห่วงโซ่คุณค่าย่อยที่เกี่ยวข้องโดยตรง
กับกลุ่มสมาชิกในชุมชนท้องถิ่นที่มีรายได้น้อย
2.2 วิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain Analysis) โดยระบุผู้มีบทบาทหลัก (Key Actors) ใน
ห่วงโซ่คุณค่า ระบุความสัมพันธ์ของผู้มีบทบาทหลักในห่วงโซ่คุณค่า (Relationships) ผู้ใช้งานคนสุดท้าย (The
End Users) เช่น กลุ่มนักท่องเที่ยว ระบุข้อจํากัดหลักของห่วงโซ่คุณค่า (Major Constraints) เป็นต้น
2.3 ระบุทางเลือกในการแก้ไขปัญหา (Identification of Solutions) ค้นหาและระบุวิธีการต่างๆ ที่
จะทำให้เกิดผลกระทบด้านบวกต่อประชากรที่ต้องการศึกษา (Populations) และภาพรวมของห่วงโซ่คุณค่า
2.4 ประเมินทางเลือกในการแก้ไขปัญหา (Assessment of Solutions) ได้แก่ การตั้งเกณฑ์ในการ
ประเมินทางเลือก และให้ความสำคัญกับการพิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ที่ได้รับประโยชน์และผู้ที่ให้ความ
ช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาหากดำเนินการตามทางเลือกต่าง ๆ
2.5 ระบุวิธีการที่จะนําไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหา (Identification of interventions) เลือก
ทางเลือกเพื่อใช้แก้ไขปัญหา และออกแบบรายละเอียดของวิธีการที่จะนําไปใช้แก้ไขปัญหา
2.3.3 การถ่ายทอดคุณค่าการบริการจากผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสู่นักท่องเที่ยว
ั
พื้นที่ทางการเกษตรที่เกี่ยวข้องกบความสามารถในการจัดหาพื้นที่ในการให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
นิเวศวิทยา และให้จิตวิญญาณแก่ผู้คน และทำหน้าที่ของพื้นที่เพาะปลูก ได้แก่ ได้ทำการวิเคราะห์หน้าที่การ
ิ
ผลิต นิเวศวิทยา และภูมิทัศน์-วัฒนธรรม และการศึกษาอุปทานการผลิต โดยพจารณาอย่างครอบคลุมถึง
ประโยชน์ในปัจจุบันและศักยภาพในอนาคต ปัจจัยสองประการ คือ ผลผลิตจริงและศักยภาพการผลิต
ถูกนำมาใช้ร่วมกันเพื่อกำหนดลักษณะอุปทานการผลิตของพื้นที่การเกษตรในการศึกษานี้ ศักยภาพการผลิตมี