Page 42 -
P. 42
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย
กระบวนการสำคัญในโซ่อุปทาน มาตรฐานที่ควรปฏิบัติ
การแปรรูปหญ้าเนเปียร์ - มีเครื่องมืออุปกรณ์การแปรรูปที่เหมาะสม
การบรรจุภัณฑ์ที่ต้องใช้ - มีการออกแบบโรงผลิตหญ้าเนเปียร์ให้เหมาะสมกับการผลิตและ
แปรรูป ไม่เก็บหญ้าเนเปียร์ในที่ชื้นแฉะ ไม่อยู่ใกล้แหล่งปฏิกูล
- ไม่ใช้ภาชนะที่เคยบรรจุวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตราย หรือวัตถุ
อันตรายทางการเกษตรมาบรรจุหญ้าเนเปียร์
- มีมาตรการการป้องกัน นก หนูที่จะเข้ามาทำให้เกิดความ
เสียหาย
- การบรรจุถุงพลาสติกและภาชนะอื่นที่เป็นไปตามข้อกำหนด
ตกลงกับผู้รับซื้อ
- ในกรณีส่งหญ้าเนเปียร์ในรูปถุงพลาสติกไม่ฉีกขาดหรือมีรูชำรุด
การขนส่งและการรับมอบหญ้าเนเปียร์ - มีการป้องกันการปนเปื้อนระหว่างขนส่ง
- มีการขนส่งจากผู้แปรรูปไปถึงฟาร์มหรือผู้รับซื้อโดยบรรจุภัณฑ์
ไม่ชำรุด
ที่มา : คณะผู้วิจัย
3.4 โครงสร้างพื้นฐานทางเส้นทาง
เส้นทางสายหลักในการขนส่งและกระจายสินค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ทางหลวง
หมายเลข 2 ซึ่งจะผ่าน อำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว และอำเภอสูงเนิน โดยจุดตัดที่อำเภอสีคิ้วบริเวณทางหลวง
หมายเลข 24 สามารถใช้เส้นทางนี้เชื่อมไปยังจังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์ได้ อีกทั้งเส้นทางนี้ตัดกับทาง
หลวงหมายเลข 304 ซึ่งเป็นเส้นทางที่ผ่านอำเภอวังน้ำเขียว ส่วนที่มุ่งขึ้นสู่ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่จังหวัดขอนแก่น นั้นสามารถแบ่งเส้นทางการขนส่งได้ดังนี้ ฝั่งขวาของทางหลวงหมายเลข 2 จะสามารถเชื่อม
ไปยังจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ทางหลวงหมายเลข 23 และจากจังหวัด
กาฬสินธุ์ สามารถใช้เส้นทางของทางหลวงหมายเลข 12 และ 213 เชื่อมไปยังจังหวัดสกลนครได้ ส่วนเส้นทาง
ด้านฝั่งซ้ายของจังหวัดขอนแก่น คือ ทางหลวงหมายเลข 12 เป็นเส้นทางที่ใช้ขนส่งไปยัง อำเภอชุมแพ และ
สามารถใช้เส้นทางดังกล่าวเชื่อมไปยังจังหวัดชัยภูมิที่ทางหลวงหมายเลข 201 ได้อีกเส้นทางหนึ่ง
RDG6020008 26