Page 39 -
P. 39
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย
ลำดับ ชื่อบริษัท ตำบล อำเภอ จังหวัด
34 บริษัท ไนน์กรีนเพาเวอร์ จำกัด บ้านปรือ กระสัง บุรีรัมย์
35 บริษัท พรีเมียร์ไบโอเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด คำป่าหลาย เมืองมุกดาหาร มุกดาหาร
36 บริษัท เอ็นเนอร์จี พลัส จำกัด (สาขา 1) หนองใหญ่ โพนทอง ร้อยเอ็ด
37 บริษัท เอ็นเนอร์จี พลัส จำกัด (สาขา 1) โครงการ 2 หนองใหญ่ โพนทอง ร้อยเอ็ด
38 บริษัท จ. เจริญมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ธาตุ เชียงคาน เลย
39 บริษัท เอี่ยมศิริ ไบโอก๊าซ จำกัด จานใหญ่ กันทรลักษ์ ศรีสะเกษ
40 บริษัท พ.ศ.ช. ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ไพร ขุนหาญ ศรีสะเกษ
41 ห้างหุ้นส่วนจำกัด สวนสอง คำโพน ปทุมราชวงศา อำนาจเจริญ
42 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด สาขา 2 แก่งโดม สว่างวีระวงศ์ อุบลราชธานี
43 บริษัท พลาสม่า เพียวริตี้ พาวเวอร์ จำกัด แก่งโดม สว่างวีระวงศ์ อุบลราชธานี
44 บริษัท อุบล ไบโอก๊าซ จำกัด นาดี นาเยีย อุบลราชธานี
45 บริษัท สินวิวัฒน์ ปิโตรเลี่ยม จำกัด หนองกินเพล วารินชำราบ อุบลราชธานี
46 บริษัท อุบลไบโอเพาเวอร์ จำกัด บุ่งหวาย วารินชำราบ อุบลราชธานี
ที่มา : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน (2560)
จากข้อมูล กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่ามี
บริษัท 3 บริษัทที่ใช้หญ้าเนเปียร์เป็นพืชหลังงานในการผลิตไฟฟ้า ได้แก่ บริษัท พี แอนด์ ปภพ รีนิวเอเบิล
จำกัด บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด และบริษัท พลาสม่า เพียวริตี้ พาวเวอร์ จำกัด คิดเป็นร้อยละ 6.5 ของ
บริษัทที่ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กากมันที่เหลือใช้จากการผลิตแป้งมันและน้ำเสีย
หมุนเวียนในระบบ
3.3 การผลิตหญ้าเนเปียร์
ลักษณะทั่วไป หญ้าสกุลเนเปียร์ออกดอก ไม่ติดเมล็ด หรือบางสายพันธุ์ติดเมล็ดน้อยมาก เมล็ดมี
ความงอกต่ำและออกดอกเฉพาะในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม จึงทำให้โอกาสแพร่กระจายเป็นวัชพืชได้ยาก
ไม่เหมือนกับหญ้าขจรจบและต้นไมยราบยักษ์ที่ออกดอก ติดเมล็ด ตลอดทั้งปี หญ้าสกุลเนเปียร์ มีประมาณ
130 สายพันธุ์ ได้มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยราว 30 ปี แล้ว ไม่เคยพบว่าเป็นวัชพืช และไม่เคยพบ
การกระจายพันธุ์โดยเมล็ด เกษตรกรปลูกเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ทั้งในรูปตัดสดและผลิตหญ้าหมัก นอกจากนี้ ยังมี
เกษตรกรนำไปปลูกเป็นอาชีพผลิตพืชอาหารสัตว์จำหน่าย เนื่องจากเป็นหญ้าที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณค่าทาง
อาหารสูงโดยเกษตรกรมีการตัดใช้ประโยชน์ทุก 60 วัน [41] หญ้าเนเปียร์ พันธุ์ปากช่อง 1 เป็นหญ้าที่มีอายุ
RDG6020008 23