Page 31 -
P. 31
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย
บทที่ 3 การใช้ การผลิต และเส้นทางการขนส่งหญ้าเนเปียร์
3.1 ภาพรวมการผลิตหญ้าเนเปียร์ในการใช้เป็นพืชอาหารสัตว์
หญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 เป็นหญ้าอาหารหยาบที่มีศักยภาพ ให้ผลผลิตต่อไร่สูง และมีคุณภาพสูง
สามารถใช้เลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง ได้แก่ โคนม โคเนื้อ กระบือ แพะ และแกะ อีกทั้ง ใช้เลี้ยงสัตว์กระเพาะเดียว
ได้แก่ สุกร สัตว์ปีก และช้าง ได้ทั้งในรูปหญ้าตัดสด (Cut and Carry) ตัดที่อายุประมาณ 45 วัน หญ้าหั่นสด
ด้วยขนาดชิ้นละ 1-5 เซนติเมตร ตามประเภทของสัตว์ หญ้าหมัก (Silage) ตัดที่อายุประมาณ 60 วัน และ
การนำไปผสมกับวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่นๆ ผลิตเป็นอาหารผสมเสร็จ (Total Mixed Ration, TMR) ซึ่งมีสัดส่วน
ระหว่างอาหารหยาบ (Roughage) และอาหารข้น (Concentrate) มีคุณค่าทางโภชนะตามความต้องการของ
สัตว์ [34]
ในปัจจุบัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ทั้งหมด 65,776 ไร่ มีผลผลิต
ทั้งหมด 986,640 กิโลกรัม โดยมีสัดส่วนการใช้เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โคเนื้อ จำนวน 789,312 กิโลกรัม (ร้อยละ 80)
โคนม จำนวน 6,577.6 กิโลกรัม (ร้อยละ 10) แพะ แกะ จำนวน 3,288.8 กิโลกรัม (ร้อยละ 5) กระบือ จำนวน
3,288.8 กิโลกรัม (ร้อยละ 5) ซึ่งภาครัฐได้ให้การส่งเสริม โดยตั้งเป้าปริมาณการผลิตหญ้าเนเปียร์ทั้งประเทศไว้
ที่จำนวน 51,494,382 กิโลกรัม อันเป็นผลมาจากนโยบายการลดพื้นที่นา การส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์
จำหน่าย การสนับสนุนท่อนพันธ์จากหน่วยงานของรัฐ ทว่าในสถานการณ์ปัจจุบันพื้นที่ปลูกหญ้าเนเปียร์นั้น
ลดลง เนื่องจากนโยบายการส่งเสริมจากภาครัฐในการแนะนำพืชอาหารสัตว์ชนิดอื่น เช่น ต้นข้าวโพดพร้อมฝัก
ใบมันสำปะหลัง และใบหม่อน
สถานการณ์ตลาดสินค้า ผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์
ในปี 2558 การเลี้ยงสัตว์ประเภทเคี้ยวเอื้อง เช่น โคนม โคเนื้อ กระบือ และประเภทกระเพาะเดียว
เช่น สุกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนรวมกันถึงกว่า 4.8 ล้านตัว และมีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนขึ้น
เรื่อยๆ โดยมีพื้นที่สำหรับเกษตรกรรมอื่นๆ นับรวม พืชสวน พืชน้ำ และทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เพียงแค่ 552,290 ไร่
ในปี 2558-2559 [35] ในขณะที่ประเทศไทยนั้นมีพื้นที่ทุ่งหญ้าและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ 934,057 ไร่ คิดเป็น
ร้อยละ 0.29 ของพื้นที่ ดังแสดงในรูปที่ 3.1
ตารางที่ 3.1-3.2 แสดงให้เห็นถึงจำนวนโคนม โคเนื้อ กระบือ และสุกร ที่มีการเลี้ยงในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี พ.ศ. 2558-2559 แบ่งตามเขตการดูแลของกรมปศุสัตว์ จากข้อมูลนี้สามารถนำมา
แสดงเป็นแผนที่ความหนาแน่นของการเลี้ยงโคเนื้อและโคนมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ดัง รูปที่ 3.2-3.5
ซึ่งชี้ให้เห็นถึงปริมาณความต้องการพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ต่างๆ
RDG6020008 15