Page 28 -
P. 28
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย
ส่วนเหลื่อมการตลาด คือความแตกต่างของราคาที่เกิดขึ้นในระดับที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งออกเป็น
สองส่วน ส่วนแรก คือ ส่วนเหลื่อมในรูปของผลตอบแทนต่อปัจจัยการผลิต เช่น ค่าจ้างแรงงาน ดอกเบี้ยเงินกู้
กำไรจากการลงทุน มูลค่าเหล่านี้เรียกว่า ค่าโสหุ้ยการตลาด (Marketing Cost) ส่วนที่สอง คือ ส่วนเหลื่อมใน
รูปของผลตอบแทนต่อธุรกิจต่างๆ เช่น ผลตอบแทนต่อผู้ขายปลีกสำหรับบริการที่เขาทำ ต่อผู้แปรรูปสำหรับ
กิจกรรมของโรงงานแปรรูป มูลค่าเหล่านี้เรียกว่า ค่าใช้จ่ายในการตลาด (Marketing Charges) โดยส่วน
เหลื่อมการตลาด (Marketing Margin) สามารถหาได้จากส่วนต่างของราคาสินค้า ณ ระดับขายปลีก หรือราคา
ที่ผู้บริโภคจ่าย และราคาที่ผู้ผลิตได้รับ [30]
2.2 ข้อมูลและการสุ่มตัวอย่าง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย
1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ซึ่งได้จากการศึกษาภาคสนาม (Field Study) โดยมีการเดินทาง
เพื่อสำรวจพื้นที่ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและเชิงผสม (เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) ใน
การสังเกต (Observation) ได้ใช้แบบตรวจสอบ (Checklists) เพื่อเก็บข้อมูล มีการสัมภาษณ์ (Interview)
บุคคลที่เกี่ยวข้องในแต่ละหน่วยธุรกิจของโซ่อุปทาน โดยเริ่มจากการศึกษาข้อมูลในตลาดต้นน้ำเป็นอันดับแรก
จนถึงปลายน้ำ ซึ่งแบบสัมภาษณ์ที่ใช้นั้นจะประกอบด้วยคำถามที่กำหนดคำตอบไว้ให้เลือก (Closed-Ended
Questions) และคำถามที่มีลักษณะให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นในรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ (Open-
Ended Questions) รวมไปถึงปัญหา อุปสรรคต่างๆ ที่ประสบอยู่ พร้อมทั้งการจัดลงข่วงเวทีชาวบ้านเพื่อ
ตรวจสอบข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลภาพรวมของโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ได้จากการค้นคว้าเชิงเอกสาร (Document Review) ข้อมูล
สถิติ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และโซ่อุปทานหญ้าเกษตร จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เป็นต้น
ประชากรและการกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ประกอบด้วย เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าเนเปียร์ พ่อค้าคนกลาง สหกรณ์/ฟาร์มเลี้ยงสัตว์
โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กลุ่มตัวอย่าง นั้นมีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เป็นหน่วยธุรกิจในโซ่อุปทานหญ้าเนเปียร์ ที่มาจาก
แหล่งเพาะปลูกสำคัญที่มีผลผลิตสูงที่สุดโดยเรียงลำดับจากแหล่งเพาะปลูกที่สามารถควบคุมผลผลิตรวม
คิดเป็นร้อยละ 80 ของผลผลิตรวมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับการกำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างในแต่
ละหน่วยธุรกิจของโซ่อุปทาน ใช้หลักการ Pareto’s Principle (80/20) มาปรับใช้เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบ
เจาะจง โดยในแต่ละหน่วยธุรกิจ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาข้อมูลจากสมาชิกในหน่วยธุรกิจที่มีบทบาทสูงสุดใน
โซ่อุปทานหญ้าเนเปียร์ หรือคัดเลือกสมาชิกในโซ่อุปทานหญ้าเนเปียร์ ที่มีปริมาณผลผลิตหรือมีบทบาทสำคัญใน
ลำดับรองลงมา เพื่อให้สามารถมีจำนวนผลผลิตรวมคิดเป็นร้อยละ 80 ของผลผลิตรวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทำให้มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างของเกษตรผู้ปลูกหญ้าเนเปียร์เพื่อจำหน่ายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ
20 ราย จากทั้งหมด 97 รายที่มีรายงาน ดังต่อไปนี้ (ที่มา : สำนักพัฒนาอาหารสัตว์, 2559)
RDG6020008 12