Page 25 -
P. 25

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


               โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย


               ความพอใจหรืออรรถประโยชน์ (Utility) เพิ่มขึ้น โดยยินดีจ่ายเงินซื้อในราคาที่สูงขึ้น แทนการซื้อมาเก็บเอง
               รวมทั้งประโยชน์ในด้านการประหยัด เมื่อมีการผลิตของจำนวนมากในแต่ละครั้ง หรือสินค้าเกษตรที่มีปริมาณ

               วัตถุดิบขึ้นอยู่กับฤดูกาลและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

               - การกระจายสินค้า (Distribution) เป็นกิจกรรมที่ช่วยกระจายสินค้าจากจุดจัดเก็บส่งต่อไปยังร้านค้าย่อย

               - การขนส่ง (Transportation) เป็นกิจกรรมการย้ายสถานที่ของสินค้า หากขนส่งไม่ดี สินค้าอาจจะได้รับ
               ความเสียหายระหว่างทาง มีผลต่อต้นทุนโดยตรง

               และกิจกรรมโลจิสติกส์ที่สำคัญสามารถแยกได้ดังนี้ [33]

               - การให้บริการลูกค้า (Customer Service and Support)

               - การจัดซื้อจัดหา (Purchasing and Procurement)

               - การสื่อสารด้านโลจิสติกส์ในองค์กร (Logistics Communications)

               - การจัดการการขนส่ง (Transportation)

               - การบริหารวัตถุดิบ/สินค้าคงคลัง (Inventory Management)

               - การพยากรณ์และวางแผนการผลิต (Forecasting and Production Planning)

               - การบริหารคลังสินค้า (Warehousing and Storage)

               - การบรรจุหีบห่อ (Packaging)

               - โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics)

               - การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตอื่นๆ (Productivity Improvement)

               อย่างไรก็ตาม การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์จะเป็นสิ่งที่เกิดควบคู่กันอยู่เสมอ แต่ขอบข่ายในการกำหนด
               แผนงานจะมีความแตกต่างโดยที่เป็นส่วนสนับสนุนต่อกัน คือ การจัดการโซ่อุปทานจะเป็นการจัดการระดับ
               กลยุทธ์ (Strategic Level) ส่วนโลจิสติกส์จะเป็นการจัดการในระดับยุทธวิธีและการปฏิบัติงาน (Tactical

               and Operational Levels)

                       ตัวแบบอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทาน (Supply Chain Operation Reference Model: SCOR
               Model) นั้นรวมขั้นตอนและกระบวนการทำงานของโซ่อุปทานที่สำคัญ 5 กระบวนการ คือ การวางแผน
               (Plan) การจัดหาแหล่งวัตถุดิบ (Source) การผลิต (Make) การจัดส่ง (Deliver) และการส่งคืน (Return) เพื่อ
               แสดงกิจกรรมในโซ่อุปทานทั้งหมดและอธิบายลักษณะการดำเนินงานการจัดการโซ่อุปทานได้อย่างมี

               ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งผลต่อวิสัยทัศน์ของผู้ประกอบการทั้งด้านกลยุทธ์และยุทธวิธี จึงเป็นตัวแบบที่
               นิยมใช้ในการจัดการโซ่อุปทาน อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้ได้กับอุตสาหกรรมทุกกลุ่ม ซึ่งแบบจำลอง SCOR ได้
               กำหนดขั้นตอนการพัฒนาเป็น 4 ระดับ [27,29]

               - SCOR ระดับที่ 1 เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ถึงสภาพการแข่งขันธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน การวิเคราะห์

               องค์ประกอบที่สำคัญภายในและภายนอกองค์กร










               RDG6020008                                                                                9
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30