Page 24 -
P. 24

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


               โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย


                       โซ่อุปทาน (Supply Chain) ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อ
               การตอบสนองความต้องการของลูกค้า ครอบคลุมถึงการไหลทางกายภาพ (Physical Flow) ข้อมูลสารสนเทศ

               (Information Flow) การเงิน (Fund Flow) และความรู้ (Knowledge Flow) การเคลื่อนย้ายขนถ่ายผลิตภัณฑ์
               และการบริการ (Transfer of Products and Services) จากแหล่งของวัตถุดิบต้นน้ำ (Upstream Source)
               จนถึงการส่งมอบปลายน้ำ (Downstream Customers) ซึ่งเกิดขึ้นมาได้จากการหันมาจับมือกับธุรกิจรอบตัว
               ในแนวดิ่งและแนวราบ ความร่วมมือระหว่างธุรกิจในแนวดิ่งจะรวมถึงธุรกิจที่ก่อให้เกิดผลผลิตจริงใน

               สายการผลิตของตน ตั้งแต่ผู้จัดหาวัตถุดิบ (Supplier) ผู้ผลิต (Producer) ผู้กระจายสินค้า (Distributor)
               ร้านค้าย่อย (Retailer) และลูกค้า (End Customer) ดังรูปที่ 2.2 ส่วนความร่วมมือในแนวราบนั้นจะรวมถึง
               ธุรกิจที่มีลักษณะส่งเสริมหรือสนับสนุนหรือเป็นคู่ค้าที่มีประโยชน์ก่อให้เกิดการเพิ่มผลผลิตหรือยกระดับ
               ความสามารถของตนได้ [29] โดยทั่วไปโซ่อุปทานนั้นไม่จำเป็นต้องประกอบไปด้วยขั้นตอนทุกขั้นตอน ขึ้นอยู่

               กับการออกแบบที่เหมาะสมที่ต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าและบทบาทหน้าที่ของขั้นตอนต่างๆ
               ตัวอย่างเช่น โซ่อุปทานอุตสาหกรรมอาหารอาจสั้นกว่าโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องด้วยเวลาใน
               การตอบสนองคำสั่งซื้อของลูกค้านั้นมีจำกัด เป็นต้น




                                                          ข้อมูล
                                                          สินค้า/บริการ
                                                          เงิน












                                             รูปที่ 2.2 ส่วนประกอบของโซ่อุปทาน
                       การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) เป็นการบูรณาการองค์ประกอบหรือ

               การประสานการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ของโซ่อุปทาน ทั้งภายในองค์กรและระหว่างองค์กร โดยนำ
               กลยุทธ์ วิธีการ แนวปฏิบัติ หรือทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ สร้างเสริมให้มีมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ มีการสร้าง
               ความร่วมมือกันในการแบ่งปันข้อมูล ข่าวสารเพื่อให้ทราบถึงความต้องการของลูกค้าที่ทำให้เกิดการส่งต่อของ

               วัตถุดิบ สินค้า หรือบริการ โดยมุ่งเน้นให้โครงสร้างโซ่อุปทานเกิดความเหมาะสมที่สุด และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
               ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าภายใต้ต้นทุนรวมต่ำที่สุด
               สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า ด้วยการผลิตที่ได้คุณภาพ ตรงตามเวลา และราคาเหมาะสม นำมาซึ่ง
               ความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

               โดยที่กิจกรรมหลักโลจิสติกส์ในห่วงโซ่อุปทานนั้นประกอบด้วย [31]

               - การจัดหา (Purchasing and Procurement) เป็นการจัดหาวัตถุดิบที่ป้อนเข้าไปยังจุดต่างๆ ในสายของ

               ห่วงโซ่อุปทาน

               - การจัดเก็บ (Warehousing) เป็นกิจกรรมที่มีต้นทุนหรือมีการใช้ทรัพยากร แต่เพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้าใน
               ด้านเวลา (Time Value) เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่ไม่คงที่และไม่แน่นอน และทำให้ผู้บริโภคได้รับ





               RDG6020008                                                                                8
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29