Page 22 -
P. 22

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


               โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย


               ขอให้ทางราชการช่วยเหลือในด้านความรู้ต่างๆ เพื่อจะได้รับรองคุณภาพของหญ้าเนเปียร์แคระ เพื่อสร้าง
               ความมั่นใจสําหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ในเรื่องสารตกค้าง [32]

                       หากมีการศึกษาถึงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

               ของประเทศไทย จะทำให้ทราบสถานการณ์ปัจจุบันของการเชื่อมโยงผลผลิตหญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 ไปสู่
               ผู้บริโภคโดยผ่านเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นข้อมูลในการนำเสนอและปรับปรุงรูปแบบโซ่อุปทานที่
               เหมาะสม เป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างนโยบายการจัดการหญ้าเนเปียร์อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะ
               เป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างแรงจูงใจและส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรตามศักยภาพของพื้นที่

               1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                       เกษตรกร : องค์ความรู้ด้านคุณภาพ ผลิตภาพ การจัดการการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและ

               การตลาดหญ้าเนเปียร์เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ ส่งผลสู่การปฏิบัติได้จริง เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้
               ตลอดชีวิต อีกทั้งสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานด้านเครือข่ายเกษตรกร พ่อค้า ผู้ประกอบการ ในระดับต่างๆ

                       หน่วยงานรัฐ : สามารถนำผลการศึกษา ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในระยะสั้น ข้อเสนอแนะเชิง
               นโยบายในระยะยาว ไปใช้ในการกำหนดแนวทางเพื่อให้การพัฒนา สนับสนุน และส่งเสริมเกษตรกรรมหญ้า

               เนเปียร์ระดับท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และฐานข้อมูลของโซ่อุปทานหญ้าเนเปียร์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย
               ประกอบการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายของภาครัฐ ในการสร้างคุณค่าและมูลค่าของหญ้าเนเปียร์
               เพื่อความสามารถในการแข่งขันและการปรับตัวภายใต้บริบทของ AEC

                       ภาคเอกชน : ผู้ประกอบการสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและเสริมสร้าง
               ความเข้มแข็งของธุรกิจ

                       ภาคการศึกษา : ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะในงานวิจัยอาจเป็นประโยชน์สำหรับการทำวิจัยครั้ง
               ต่อๆ ไปหรือเพื่อจะได้ต่อยอดในผลงานวิจัยนั้นต่อเนื่องจากไป สามารถนำการวิจัยนี้ไปเป็นโครงวิจัยต้นแบบ

               และขยายผลสู่ภูมิภาคอื่น การทำวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ ให้สามารถเริ่มการวิจัยและพัฒนาได้
               และดำเนินการวิจัยต่อไปได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว อย่างมีคุณภาพ ผลจากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไป
               ตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการระดับชาติหรือระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 บทความ หรือในจดหมายข่าว

               งานวิจัย เชิงนโยบายเกษตร (E-Newsletter: Agri. Policy Research) นอกจากนี้ผลงานวิจัยนี้ คาดว่าจะถูก
               นำเผยแพร่ในที่ประชุมทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ ในรูปบรรยายหรือโปสเตอร์ต่อไป

                       ประชาชน : เป็นการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภครับรู้ถึงอีกหนึ่งทางเลือกของการสร้างรายได้และ
               ตระหนักถึงประโยชน์จากการเกษตร อีกทั้งสามารถใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจประกอบการหรือทำธุรกิจ
























               RDG6020008                                                                                6
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27