Page 21 -
P. 21

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


               โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย


               การขนส่งและหาปัจจัยการผลิต กิจกรรมการบริหารคลังสินค้าและกิจกรรมการเคลื่อนย้ายในแปลงนา
               วิเคราะห์ส่วนเหลื่อมการตลาดของผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน และวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตรวม

               นอกเหนือจากนี้ อรวรรณ ศรีโสมพันธ์ และคณะ [25] ได้ทำการวิจัยภายใต้ โครงการโครงสร้างการผลิตและ
               การตลาดข้าวหอมมะลิไทย โดยได้นำเสนอพลวัตการเปลี่ยนแปลงของตลาดและการส่งออกข้าวหอมมะลิของ
               ไทยและตลาดโลก ร่วมกับการวิเคราะห์สถานภาพการผลิต โครงสร้างต้นทุนผลตอบแทน การผลิต
               รายละเอียดขั้นตอนการผลิต การใช้แรงงาน ปัญหา อุปสรรค แนวทางการแก้ปัญหาของเกษตรกร ปัจจัยที่มี

               ผลกระทบต่อการตัดสินใจในการเพาะปลูกหรือส่งผลกระทบต่อการจัดการคุณภาพข้าวหอมมะลิ รวมทั้ง
               การจัดการด้านคุณภาพข้าวหอมมะลิ ซึ่งนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญคือต้องมีการสร้างห่วงโซ่
               อุปทาน เพื่อผูกโยงการผลิตสู่ห่วงโซ่คุณค่า

                       ทั้งยังพบการศึกษาโซ่อุปทานสินค้ายางพาราด้วยเช่นกัน สุภาภรณ์ พวงชมภู [26] ได้ทำการวิจัย
               ภายใต้ โครงการกลไกตลาดยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อศึกษาถึงแหล่งผลิตที่สำคัญ ลักษณะ

               การผลิต การตลาด และจัดทำฐานข้อมูลตลาดยางพาราของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและตอนล่าง
               ทั้งนี้พบข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานของรัฐควรจัดการอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพาราและ
               การดูแล รวมถึงการใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิต ควรมีนโยบายประกันราคายางพารา

               ส่งเสริมการตลาด และให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการและกระบวนการผลิต มีการส่งเสริมให้มีการปลูก
               ยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ คลอเคลีย วจนะวิชากร และปานจิต ศรีสวัสดิ์ [27] ได้
               ทำการศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ยางพารา ในอำเภอบุณฑริก จังหวัด
               อุบลราชธานี โดยใช้หลักการของตัวแบบอ้างอิงการดำเนินงานห่วงโซ่อุปทาน (SCOR Model) เพื่อแสดง
               ความสัมพันธ์ระหว่างห่วงโซ่อุปทานของยางพารา ร่วมกับหลักการห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) [28] ได้ทำ

               การจำลองระบบการจัดการโซ่อุปทานยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยพลวัตของระบบ แสดงถึง
               ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบและตัวแปรที่มีผลต่อโซ่อุปทาน

                       อภิชาต โสภาแดง และคณะ [29] ได้มีการใช้การวิเคราะห์ความเสี่ยง ตัวแบบอ้างอิงการดำเนินงาน
               และโซ่คุณค่าของโซ่อุปทานด้านต้นทุนเวลาและคุณภาพ ในศึกษาระบบจัดการโซ่อุปทานของลำไยสดใน

               ประเทศไทย นอกเหนือจากนี้ ภายใต้โครงการ การจัดการการผลิตและการตลาดข้าวไร่อย่างยั่งยืน ในภาค
               ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนนั้น [30] ได้มีการใช้แนวคิดด้านการศึกษาห่วงโซ่มูลค่า ส่วนเหลื่อมการตลาด และ
               SWOT Analysis เพื่อนำเสนอนโยบายเชิงพื้นที่ด้านการผลิตและการตลาดข้าวไร่ กำจัด เล่ห์มงคล และคณะ
               [31] ได้ทำการศึกษาการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานของมะม่วงสดและสุกเพื่อการส่งออก โดยใช้

               วิธีการคำนวณต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ แผนภูมิก้างปลา และ SWOT Analysis เป็นต้น เพื่อหาข้อสรุป
               แนวทางการปฏิบัติที่ดี ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานในแต่ละกระบวนการ รวมทั้งข้อเสนอแนวทาง
               การพัฒนาในระบบห่วงโซ่อุปทานที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

                       ในส่วนของหญ้าเนเปียร์นั้น พบเพียงการศึกษาตันทุนและผลตอบแทนการปลูกหญ้าเนเปียร์แคระที่ใช้
               น้ำเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยสนใจต้นทุนรวมเฉลี่ย รายได้เฉลี่ย

               กำไรสุทธิเฉลี่ย ในทุกขนาดพื้นที่ปลูกนับรวมพื้นที่เพาะปลูกขนาดเล็ก (1-10 ไร่) พื้นที่เพาะปลูกขนาดกลาง
               (11-20 ไร่) และพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ (มากกว่า 20 ไร่) พร้อมทั้งศึกษาปัญหาด้านการผลิตและการดูแล
               รักษา และปัญหาด้านการจัดจำหน่ายหญ้าเนเปียร์แคระของเกษตรกร อีกทั้งด้านการรวมกลุ่มจัดตั้งสหกรณ์
               การปลูกหญ้าเนเปียร์แคระ เพื่อศึกษาการแปรรูป และสร้างมูลค่าของหญ้าในกรณีที่ทําหญ้าแห้งจําหน่ายและ







               RDG6020008                                                                                5
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26