Page 20 -
P. 20
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.2.1 เพื่อศึกษาโซ่อุปทานหญ้าเนเปียร์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1.2.2 เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อมโยงในแต่ละระดับของโซ่อุปทานหญ้าเนเปียร์
1.2.3 เพื่อสร้างฐานข้อมูลในการพัฒนาหญ้าเนเปียร์ ซึ่งนำไปสู่การกำหนดนโยบายสินค้าเกษตรที่
เหมาะสม
1.3 ขอบเขตของการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโซ่อุปทานหญ้าเนเปียร์ สายพันธุ์ปากช่อง 1 ในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการผลิต 2558/59 โดยจะพิจารณา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในโซ่อุปทานจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ
ซึ่งประกอบด้วย เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าเนเปียร์เพื่อจำหน่าย พ่อค้าคนกลาง สหกรณ์/ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และ
โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย [21] ได้จัดทำโครงการศึกษาแนวทางการจัดการห่วงโซ่
อุปทานและโลจิสติกส์ของสินค้าเกษตร เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แบบแผนและการเปลี่ยนแปลงของการจัดการ
ห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรไทยรวม 13 ชนิด โดยเน้นสินค้าเกษตรเชิงลึก 5 ชนิด เช่น ข้าว ยางพารา เป็นต้น
โดยมีการประเมินศักยภาพของเกษตรกรและผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานทุกขั้นตอน วิเคราะห์ปัญหากับ
อุปสรรคของการจัดการห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรไทยที่เกิดขึ้นในขั้นตอนต่างๆ โดยเน้นเฉพาะปัญหาและ
อุปสรรคที่เกิดจากความบกพร่องของกลไกตลาด วิเคราะห์นโยบายของรัฐที่มีผลกระทบทั้งทางด้านบวกและ
ด้านลบต่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานในแต่ละขั้นตอน และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายการจัดการห่วงโซ่
อุปทานสินค้าเกษตรในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งกลยุทธ์การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตร
สมัยใหม่ โดยมีแนวคิดของการศึกษามาจากความหมายและลักษณะสำคัญ 3 ประการของการจัดการห่วงโซ่
อุปทานสินค้าเกษตร ได้แก่ การเคลื่อนย้ายสินค้า (Product) การไหลเวียนของข่าวสารข้อมูล (Information)
และการไหลเวียนของเงินทุนกับการแบ่งภาระความเสี่ยง (Fund) นอกจากนี้ ทาง รุธิร์ พนมยงค์ [22] ร่วมกับ
สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ร่วมกันทำการศึกษาการจัดทำระบบข้อมูลและ
ตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index: LPI) ภาคการเกษตร และพัฒนาระบบ
การจัดการเครือข่ายโซ่อุปทานและโลจิสติกส์สินค้าเกษตร 3 กลุ่ม 6 ชนิด ครอบคลุมกิจกรรมหลักด้าน
โลจิสติกส์อย่างน้อย 9 กิจกรรมใน 3 มิติ ได้แก่ มิติด้านการบริหารต้นทุน (Cost Management) มิติด้านเวลา
(Lead Time) และมิติด้านความน่าเชื่อถือ (Reliability)
ในลักษณะเดียวกันนั้น พบการศึกษาห่วงโซ่อุปทานสินค้าข้าวในประเทศไทย รวิสสาข์ สาชาโต และ
คณะ [23] ได้ทำการวิจัย ภายใต้ โครงการการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานของข้าวไทย : กรณีศึกษาข้าวหอมมะลิ
บรรจุถุง เพื่อศึกษาโซ่อุปทานและวิถีตลาดข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่ขายผ่านร้านค้าสมัยใหม่ในประเทศ เพื่อ
วิเคราะห์ความเชื่อมโยงและประสิทธิภาพของโซ่อุปทาน พบว่าควรมีการส่งเสริมการรวมและเพิ่มบทบาทของ
กลุ่ม/สมาคม ในแต่ละระดับของโซ่อุปทาน เพื่อเพิ่มโอกาสในการเจรจา อีกทั้งมีการพัฒนาการส่งต่อ/ถ่าย
ข้อมูลในเรื่องของคุณภาพข้าวให้เข้าใจตรงกัน เพื่อให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
ทำนอง ชิดชอบ และคณะ [24] ได้ทำการศึกษาระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานข้าวหอมมะลิอินทรีย์ของ
สหกรณ์การเกษตรใน 6 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ของกิจกรรม
RDG6020008 4