Page 18 -
P. 18
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย
เป็นต้น [4,5] นอกจากนี้ นายกมล ริมคีรี ผอ.สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ [10] ได้ให้ข้อแนะนำว่า
พื้นที่ปลูกควรจะมีลูกค้าหนาแน่น นั่นคือ อยู่ในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงโคหนาแน่นหรือมีสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคตั้งอยู่
พบการส่งเสริมการปลูกหญ้าเนเปียร์แทนพืชเกษตรที่มีรายได้ต่ำ ในปี พ.ศ. 2556 กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ ได้มีการกำหนดพื้นที่เขตส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อเพื่อสร้างรายได้ใหม่ (ปลูกหญ้าเนเปียร์เพื่อเลี้ยง
โคเนื้อ) โดยรวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 จังหวัด 1,320 ตำบล ซึ่งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา 170 ตำบล
[11] โดยในปี พ.ศ. 2557 นั้น มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อทั้งหมดจำนวน 745,408 ครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน
พื้นที่เขต 3 (จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัด
อุบลราชธานี จังหวัดยโสธร และจังหวัดอำนาจเจริญ) จำนวน 261,147 ครัวเรือน (ร้อยละ 35.03) ซึ่งจังหวัด
นครราชสีมานั้นมีการเลี้ยงโคเนื้อมากที่สุด จำนวน 246,280 ตัว (ร้อยละ 5.71) รองลงมาคือ จังหวัดสุรินทร์
อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และกาญจนบุรี ตามลําดับ [12] ในส่วนของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทั้งหมดจำนวน
16,634 ครัวเรือนนั้นจะอยู่ในพื้นที่เขต 3 จำนวน 2,967 ครัวเรือน (ร้อยละ 17.84) โดยเฉพาะในจังหวัด
นครราชสีมา จำนวน 2,513 ครัวเรือน นอกจากนี้ จังหวัดนครราชสีมามีการเลี้ยงโคนมอยู่ที่ 73,639 ตัว (ร้อยละ
14.48) เป็นอันดับสองรองจากจังหวัดสระบุรี [13] จากสถิติของสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ [14] ในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ได้มีการปลูกหญ้าเนเปียร์ สายพันธฺุ์ปากช่อง 1 เพื่อจำหน่าย ที่มีรายงานเป็นจำนวน
ทั้งหมด 1,643 ไร่ นอกจากนี้ ปศุสัตว์จังหวัดอำนาจเจริญ นายมานพ กนกศิลป์ ได้ให้การสนับสนุนเกษตรกรผู้ที่
ปลูกหญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 เลี้ยงกระบือสู้ภัยแล้ง ภายใต้โครงการอนุรักษ์และพัฒนาการผลิตกระบือ ด้วยเงิน
อุดหนุนระบบน้ำปลูกหญ้า อุปกรณ์ในการติดตั้งบ่อก๊าซชีวมวล 2 ชุด และท่อนพันธุ์หญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1
[15]
จากการศึกษาการปลูกหญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม จังหวัดนครราชสีมา
พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างสภาพการปลูกหญ้าเนเปียร์กับอายุของเกษตรกร
ประสบการณ์ในการเลี้ยงโคนม รายได้จากการเลี้ยงโคนม ความรู้เกี่ยวกับพืชอาหารสัตว์ สื่อบุคคล สื่อกิจกรรม
และสื่อมวลชน [16] ในการศึกษาผลของหญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 ทั้งแบบสดและแบบหมักต่อสมรรถภาพ
การผลิต (อัตราการเจริญเติบโต ปริมาณการกินได้ อัตราการแลกเนื้อ อัตราการเลี้ยงรอด และดัชนีการผลิต)
ของไก่ไทยละโว้นั้น พบว่า สามารถใช้ทดแทนอาหารสำเร็จรูปทางการค้าได้ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ [17] อีกทั้งผล
ของหญ้าเนเปียร์หมักต่อสมรรถภาพการผลิตของแพะเนื้อ (ปริมาณการกินได้ การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว
ต่อวัน และอัตราการเจริญเติบโต) เทียบกับการใช้ข้าวฟ่างอาหารสัตว์หมักนั้นมีค่าไม่แตกต่างกัน [18]
จากวิกฤติการณ์ด้านพลังงานทั่วโลก ส่งผลให้ประเทศไทยส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น
ภายใต้กรอบการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579
นั้น ได้มีแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้และการจ้างงานแล้ว
ยังจะช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ และ
เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่งด้วย
หญ้าเนเปียร์ เป็นพืชพลังงานที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงจากแหล่งพลังงานที่สะอาด มีศักยภาพในการผลิต
เป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับโรงไฟฟ้า เนื่องจากเมื่อนำหญ้าเนเปียร์มาหมักแล้วจะได้ปริมาณ
ก๊าซมีเทนสูง ซึ่งในการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ 1 เมกะวัตต์ (Biogas 1 MW) จะใช้พื้นที่ปลูก 800-1,000 ไร่
(ผลิตไฟฟ้าวันละ 24 ชั่วโมง จำนวน 330 วัน) นอกจากนี้ สามารถนำหญ้าเนเปียร์ สายพันธุ์ปากช่อง 1 มาผลิต
เป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง เป็นการนำแหล่งชีวมวลแหล่งใหม่ ที่มีศักยภาพในการผลิตสูงมาใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงได้
จึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนกับอุตสาหกรรมต่างๆ ในอนาคต [7,8]
RDG6020008 2