Page 17 -
P. 17

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


               โครงการ การพัฒนาฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของหญ้าเนเปียร์ พืชพลังงาน-อาหารสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย



                                                     บทที่ 1 บทนำ

               1.1 ที่มาและความสำคัญ

                       หญ้าเนเปียร์ พืชเกษตรนำเข้า ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ให้เหมาะกับการเพาะปลูกภายในประเทศ

               หญ้าชนิดนี้ใช้สำหรับเป็นอาหารสัตว์และใช้ในด้านการผลิตพลังงาน สามารถนำมาใช้ทดแทนก๊าซ LPG และ
               ก๊าซ NGV ได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาร่วมกับคุณลักษณะอื่นๆ พบว่าหญ้าเนเปียร์เพาะปลูกง่ายให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่า
               หญ้าชนิดอื่นเกือบ 7 เท่า จึงทำให้ได้รับความสนใจมากขึ้นในฐานะพืชพลังงาน [1]

                       ตามที่รัฐบาลได้กำหนดให้มีการจัดทำเขตเกษตรเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างอุปทานและ
               อุปสงค์ สนับสนุนการผลิตทางการเกษตรที่สอดคล้องกับพื้นที่ พื้นที่นอกเขต Zoning  หมายถึง พื้นที่เหมาะสม

               เล็กน้อย (S3) และไม่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว (N) (ได้ผลผลิตต่ำประมาณ 35 ถังต่อไร่ หรือ 350 กิโลกรัมต่อ
               ไร่ ต้นทุนการปลูกบำรุงดูแลรักษาสูง ทำให้เกษตรกรมีรายได้ไม่เพียงพอ) บนพื้นที่นี้ กระทรวงเกษตรและ
               สหกรณ์จะสนับสนุนให้ชาวนาปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น หรือไปทำกิจกรรมอื่นที่ให้

               ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่า เช่น อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน การเลี้ยงปลาในพื้นที่
               ปลูกข้าว ไร่นาสวนผสม หญ้าเนเปียร์เพื่อเลี้ยงโคนมและโคเนื้อ และหญ้าเนเปียร์แปรรูปเป็นพลังงาน เป็นต้น
               เพื่อลดความเสี่ยง เพิ่มรายได้ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพแก่
               เกษตรกร [2,3,4]

                       หญ้าเนเปียร์ (Pennisetum Purpureum) เป็นพืชดั้งเดิมของอัฟริกาเขตร้อน นำเข้ามาในปี พ.ศ. 2472

               โดย นาย อาร์.พี.โจนส์ มีลักษณะคล้ายต้นอ้อย มีใบหนาและกว้าง ปลูกขยายพันธุ์โดยใช้ท่อนพันธุ์ โดยมี
               หญ้าเนเปียร์ สายพันธุ์ปากช่อง 1 กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน

                       หญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 เป็นหญ้าลูกผสมซึ่งเกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างหญ้าเนเปียร์ยักษ์และ
               หญ้าไข่มุก เป็นพืชที่มีศักยภาพสูงทั้งในแง่การให้ผลผลิตและคุณค่าทางอาหาร จึงถูกนำมาใช้เพื่อการเกษตร
               สำหรับเป็นอาหารในการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โคนม โคเนื้อ กระบือ แพะ และแกะ ปัจจุบัน

               กรมปศุสัตว์ได้สนับสนุนส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศในพื้นที่ราบ
               โดยเฉพาะในเขตชลประทานสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ส่วนในเขตอาศัยน้ำฝนควรปลูกต้นฤดูฝน ประมาณ
               เดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ทำให้เจริญเติบโตเร็วสามารถเก็บเกี่ยวได้นานถึง 6-7 ปี ปีละ 5-8 ครั้ง
               ให้ผลผลิตต่อไร่สูงสุดประมาณ 40-100 ตันสดต่อไร่ต่อปี สูงกว่าหญ้าชนิดอื่นเกือบ 7 เท่า โดยพื้นที่ปลูก 1 ไร่

               จะสามารถตัดใบมาใช้เลี้ยงโคได้ประมาณ 5-6 ตัว และมีอัตราการผลิตก๊าซมีเทนสูงกว่าหญ้าชนิดอื่น จึงทำให้
               หญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 ได้รับความสนใจมากขึ้นในฐานะพืชพลังงาน เป็นการเพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
               ให้ภาคอุตสาหกรรมและชุมชน [1,5,6,7,8,9]

                       ในการปลูกหญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 นั้น จะครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน การเตรียมวัสดุปลูก
               การเตรียมท่อนพันธุ์ การเพาะปลูก การกำจัดวัชพืช การให้น้ำ การเก็บเกี่ยวผลผลิต การใส่ปุ๋ยหลังเก็บเกี่ยว

               ผลผลิต การผลิตเสบียงสัตว์ เช่น หญ้าแห้งและหญ้าหมัก (ผลผลิตหญ้าสดเหลือจากที่ใช้เลี้ยงสัตว์) การใช้เลี้ยง
               สัตว์ (โคกินหญ้าสดอายุ 45 วัน หญ้าหมักอายุ 60 วัน) การจำหน่าย (ในรูปของหญ้าแห้งให้แก่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์
               ต่างพื้นที่ หญ้าสดอายุ 45 วันให้แก่สหกรณ์/ฟาร์มขนาดใหญ่ หญ้าหมักอายุ 60 วันให้แก่สหกรณ์/ฟาร์มขนาด

               ใหญ่หรือโรงงานก๊าซชีวภาพ หญ้าสดอายุ 90 วันให้แก่โรงงานก๊าซชีวภาพ) ซึ่งค่าใช้จ่ายในการปลูกหญ้า
               เนเปียร์ปากช่อง 1 นั้นจะรวมค่าไถ ค่าวัสดุการเกษตร (ท่อนพันธุ์และปุ๋ย) ค่าแรงงาน (ในการเตรียมดิน การปลูก
               การเตรียมท่อนพันธุ์ การใส่ปุ๋ย และการเลี้ยงสัตว์) ค่ากำจัดวัชพืช ค่าเสียโอกาสการใช้ที่ดิน (ค่าเช่า)



               RDG6020008                                                                                1
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22