Page 133 -
P. 133
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เช่น ค่า premium ของข้าว และเงิน Cess ของยางพารา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้และปัจจัยอื่นๆ มีผลให้
เกษตรกรนับวันจะยากจนลงเรื่อยๆ เป็นหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบ สูญเสียที่ท�ากิน คนหนุ่มสาว
ต้องละทิ้งถิ่นฐาน เข้าไปหางานและหาโอกาสที่คาดคิดว่าดีกว่าในเมืองใหญ่และในต่างประเทศ ซึ่งก็ไม่
จริงเสมอไป ซ�้าบางรายกลับมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่เลวกว่าเดิม ชีวิตครอบครัวต้องแตกแยก นอกจาก
นี้ผลพวงของการพัฒนาหรือสิ่งที่เรียกว่าความเจริญได้ขยายเข้าไปในชนบทส่วนหนึ่ง มีผลท�าให้ค่านิยม
ในการพึ่งพาของจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เช่น รถจักรยานยนต์ รถกระบะ ตู้เย็น โทรทัศน์ เตาแก๊ส
พัดลม วีดิทัศน์ โทรศัพท์มือถือ ของอุปโภคและบริโภค รวมทั้งปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่มีราคาแพง เช่น
รถไถไร่ ปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันและก�าจัดศัตรูพืช และพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ราคาแพง ที่ต้องน�าเข้าจาก
ต่างประเทศ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ซ�้าเติมให้สภาพเศรษฐกิจของชนบทอยู่ในสภาพที่ไม่พึ่งตนเอง
เกินพอและเกินรายได้ยิ่งขึ้น
๓. เศรษฐกิจพอเพียง
๓.๑ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง-ชีวิตที่เป็นจริงของคนไทย
ปัจจุบันมีการกล่าวถึง “ปรัชญา” หรือ “แนวคิด” ในการด�ารงชีวิต หรือประกอบอาชีพแบบ
เศรษฐกิจพอเพียง (Self sufficient หรือ sufficiency economy) กันมากขึ้น โดยเฉพาะในยามที่
รัฐบาลเน้นนโยบายทางด้าน “เศรษฐกิจการค้า” และ “เศรษฐกิจพาณิชย์”
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นพระราชด�ารัสที่ได้พระราชทานเป็นครั้งแรก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔
ธันวาคม ๒๕๔๐ และเพิ่มเติมเมื่อวันศุกร์ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา
พระราชวังดุสิต แต่ตลอดระยะก่อนหน้านั้น เกือบกว่า ๔๐ ปีที่ผ่านมาในรัชกาลของพระองค์ พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงยึดแนวทางในหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาโดยตลอด ทรงแนะน�าให้การ
ประกอบอาชีพและด�ารงชีวิตของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในชนบท
ในท้องที่ห่างไกลซึ่งส่วนมากมีฐานะค่อนข้างยากจน ประกอบอาชีพการเกษตรเพื่อด�ารงชีวิต แต่ก็เป็น
ประชาชนส่วนใหญ่ และเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของประเทศ
พระองค์มีพระราชด�ารัสในวาระและโอกาสต่างๆ อยู่เสมอเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการ
ของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้บุคคลทุกระดับได้ตระหนักถึงแนวทางส�าคัญในการด�ารงชีวิต
ซึ่งค่อนข้างจะแตกต่างจากแนวคิดของนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์ของประเทศในช่วงนั้น
แบบอย่างและแนวทาง 131
เป็นคนดีและคนเก่ง