Page 11 -
P. 11

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
        2 | คู่มือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
        1.1 ความเป็นมา



               ประเทศไทยมีแหล่งธรรมชาติที่ควรอนุรักษ์ของท้องถิ่นทั่วประเทศประมาณ 4,700 แห่ง แบ่งเป็นแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา น้ำตก
        ถ้ำ โป่งพุร้อน ชายหาด เกาะ แก่ง แหล่งน้ำ ซากดึกดำบรรพ์ และธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา  เป็นแหล่งธรรมชาติที่มีความอ่อนไหวง่ายต่อ
        การถูกทำลายทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติ และจากการกระทำของมนุษย์ที่ตั้งใจและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่อย่างไรก็ตาม หากแหล่งธรรมชาติเหล่านี้

        ถูกทำลายหรือได้รับความเสียหาย ก็ไม่สามารถที่จะฟื้นคืนกลับมาได้เช่นเดิม โดยเฉพาะแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา ซึ่งเป็นแหล่งธรรมชาติที่มี
        ความโดดเด่นประเภทหนึ่ง และมีการกระจายตัวอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ทั้งที่เป็นภูเขาหินแกรนิตและภูเขาหินปูน อีกประการหนึ่งแหล่ง
        ธรรมชาติประเภทภูเขา ก็มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศของท้องถิ่นนั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวภูเขาที่เป็นเทือกเขายาวๆ
        และสูงๆเทือกเขา เหล่านั้นจะเป็นกำแพงธรรมชาติกั้นเมฆฝน ด้านที่ได้รับลมจากทะเลจะเป็นบริเวณที่มีฝนตกสม่ำเสมอทำให้พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์
        ด้วยพันธุ์ไม้ต่างๆ นอกจากนั้น ทิวทัศน์ บรรยากาศ ภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อมบริเวณโดยรอบภูเขา  ก็ยังเป็นสถานที่ที่น่าสัมผัส ส่งผลให้เกิดการท่องเที่ยว
        และสร้างรายได้ให้เกิดแก่ชุมชนตามมา
               ปัจจุบันการเพิ่มขึ้นของประชากรทั้งในโลกและของประเทศ ส่งผลให้การใช้ทรัพยากรต่างๆ เพิ่มมากขึ้น การส่งเสริมการบริโภคแบบวัตถุ
        นิยม ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในระบบนิเวศที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขาได้ถูกทำลายอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลง
        สภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ปัญหาอุทกภัย ความแห้งแล้ง จะเร่งให้เกิดความสูญเสียต่อแหล่งธรรมชาติ
        ประเภทภูเขา
               ดังนั้น เพื่อเป็นการคงคุณค่าความสำคัญระบบนิเวศของสิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขาของท้องถิ่นเอาไว้ ในปีงบประมาณ

        พ.ศ. 2557 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงมีโครงการจัดทำมาตรฐานหรือเกณฑ์การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
        ธรรมชาติประเภทภูเขา เพื่อการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
        ขึ้น  ให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้และดำเนินการร่วมกันในการดูแลรักษา ฟื้นฟูและมีการใช้ประโยชน์อย่างระมัดระวัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำ
        เกณฑ์การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งมีแนวทาง มาตรการการอนุรักษ์และฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อม  โดยผ่านความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16