Page 4 -
P. 4
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการอธิบายพฤติกรรรมการย้ายถิ่นของแรงงาน โดยการพิจารณาพฤติกรรมการย้ายถิ่น
ระหว่างภาคและจังหวัด ร่วมกับการย้ายถิ่นระหว่างภาคเกษตรกรรมและนอกภาคเกษตรกรรม เพื่อค้นหาปัจจัยส าคัญ
ต่อการตัดสินใจย้ายถิ่นในลักษณะดังกล่าวของแรงงาน รวมไปถึงการพิจารณาผลกระทบของการย้ายถิ่นของแรงงาน
ต่อความแตกต่างของค่าจ้างแรงงานในภาคเกษตรกรรมและนอกภาคเกษตรกรรม ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่าอัตรา
การว่างงานมีบทบาทต่อการตัดสินใจย้ายถิ่นของแรงงานมากที่สุด โดยเป็นตัวแปรผลักดัน (Push Factor) ให้แรงงานย้ายออก
จากภาคเกษตรกรรมและนอกภาคเกษตรกรรมเพื่อหางานท าในพื้นที่อื่นๆ และพบว่าอัตราค่าจ้างแรงงานมีผลกระทบต่อ
การตัดสินใจย้ายถิ่นของแรงงานในระดับต ่าที่สุด นั่นคือ หากอัตราค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น 100% ปริมาณการย้ายถิ่นของ
แรงงานจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.01 – 0.07% ทั้งในภาคเกษตรกรรมและนอกภาคเกษตรกรรม นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์
ยังพบว่าค่าความยืดหยุ่นของอุปทานแรงงานนอกภาคเกษตรกรรมอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ความต้องการแรงงานนอกภาค
เกษตรกรรมเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง ดังนั้น ปริมาณแรงงานว่างงานนอกภาคเกษตรกรรมจึงเพิ่มขึ้น นั่นคือ เกิดภาวะอุปทาน
แรงงานส่วนเกินในกลุ่มอุตสาหกรรมนอกภาคเกษตรกรรม และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันระหว่างแรงงานในภาค
เกษตรกรรมและนอกภาคเกษตรกรรม คือ ข้อจ ากัดของการย้ายถิ่นระหว่างสองภาคอุตสาหกรรมนี้ อย่างไรก็ตาม แรงงาน
ที่ว่างงานนอกภาคเกษตรกรรมย้ายเข้าสู่ภาคเกษตรกรรมได้บางส่วน และท าให้อัตราค่าจ้างภาคเกษตรกรรมลดลง และ
ผลการวิเคราะห์พบว่านโยบายการขึ้นอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต ่า จะส่งผลให้แรงงานย้ายเข้าสู่นอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น
สถานการณ์อุปทานส่วนเกินนอกภาคเกษตรกรรมจึงมีความรุนแรงมากขึ้น