Page 141 -
P. 141
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลวัตของความยากจน
กรณีที่สอง มีเงื่อนไขพิจารณาเฉพาะครัวเรือนที่ยากจน ในปี 2531 โดยกำหนดให้ตัวแปร
ตามมีค่าเท่ากับ 1 หากครัวเรือนยังคงยากจน ในปี 2552 (กลุ่มยากจนเรื้อรัง) และเท่ากับ 0 หาก
ครัวเรือนไม่ยากจน ในปี 2552 (กลุ่มออกจากความยากจน) เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ โดยแบบ
จำลอง probit marginal effect แล้ว พบว่าอายุหัวหน้าครัวเรือน อัตราภาระพึ่งพิงจำนวนสมาชิก
วัยเด็ก จำนวนสมาชิกผู้สูงอายุเพศหญิง การประกอบอาชีพรับจ้างภาคเกษตร การเปลี่ยนแปลง
ขนาดครัวเรือน และการเปลี่ยนแปลงเพศหัวหน้าครัวเรือนเป็นเพศหญิง มีอิทธิพลในการทำให้
ครัวเรือนอยู่ในความยากจนเรื้อรังมากขึ้น ในขณะที่ครัวเรือนที่มีพื้นที่เพาะปลูกข้าว ผลผลิตต่อไร่
การสะสมสินทรัพย์ทุนกายภาพประเภทเครื่องมือเครื่องจักร มูลค่าสุทธิของปศุสัตว์และพืชสวน
และการเปลี่ยนแปลงจากการประกอบอาชีพภาคเกษตรเป็นภาคนอกเกษตรของหัวหน้าครัวเรือน
จะมีความเป็นไปได้ที่จะหลุดพ้นจากความยากจน โดยผลกระทบของปัจจัยเหล่านี้เห็นได้ชัดเจน
ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรณีที่สาม มีเงื่อนไขพิจารณาเฉพาะครัวเรือนที่ไม่ยากจนในปี 2531 โดยกำหนดให้ตัวแปร
ตามมีค่าเท่ากับ 1 หากครัวเรือนยังคงยากจน (กลุ่มเข้าสู่ความยากจน) และเท่ากับ 0 หากครัวเรือน
ไม่ยากจนในปี 2552 (กลุ่มไม่ยากจน) ผลความสัมพันธ์แสดงให้เห็นว่า การเข้าสู่ความยากจนของ
ครัวเรือนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับหัวหน้าครัวเรือนที่เป็นเพศหญิงและจำนวนสมาชิกเพศหญิง
ในวัยชรา สอดคล้องกับผลจาก multinomial logit ในขณะที่มีความสัมพันธ์ในทางตรงข้ามกับ
จำนวนสมาชิกในวัยแรงงาน ผลผลิตต่อไร่ และมูลค่าปศุสัตว์และพืชสวน
140 สถาบันคลังสมองของชาติ